สารบัญ: คลิ๊กเลือกอ่าน
กินกระท่อมแล้วเสพติดไหม?
กระท่อม คือ ต้นไม้เขตร้อน (Mitragyna Speciosa) มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใบกระท่อมมีสารประกอบอัลคาลอยด์ที่สามารัมีผลต่อจิตได้ ปัจจุบันกระท่อมถูกกฎหมายแล้วในประเทศไทยและสามารถสั่งซื้อได้ทั่วไปแม้กระทั้งในอินเตอร์เน็ต บางครั้งก็ขายในรูปแบบผงในแคปซูล สารสกัด หรือแม้กระทั่งหมากฝรั่ง 1
![](https://farmssb.com/wp-content/uploads/2021/11/สไลด์1.jpg)
คนทั่วไปสามารถกินกระท่อมในรูปแบบไหนได้บ้าง?
หลายคนใช้ใบกระท่อมเป็นยาในรูปแบบของแคปซูลหรือสารสกัด บางคนเคี้ยวใบกระท่อมหรือชงใบแห้งหรือเป็นผงชา บางคนก็เอาไปรมควันทำสเต๊ก 1
กระท่อมส่งผลต่อสมองอย่างไร?
กระท่อมสามารถส่งผลต่อสมองคล้ายโอพิออย (opioids) สารประกอบสองชนิดในใบกระท่อม mitragynine และ 7-α-hydroxymitragynine ทำปฏิกิริยากับตัวรับโอพิออย (opioids receptor) ในสมอง ทำให้เกิดความใจเย็น มีความสุข และความเจ็บปวดลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ใช้กินพืชจำนวนมาก 1
![](https://farmssb.com/wp-content/uploads/2021/11/สไลด์2.jpg)
Mitragynine ยังสามารถทำปฏิกิริยากับตัวรับ (receptor) อื่น ๆ ในสมองเพื่อสร้างผลกระตุ้นสมอง เมื่อรับประทานกระท่อมในปริมาณน้อย ผู้บริโภคได้รายงานถึงพลังในร่างกายที่เพิ่มขึ้น และความตื่นตัวแทนการระงับประสาท อย่างไรก็ตาม กระท่อมยังสามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงในบางครั้ง เช่น คลื่นไส้ อาการคัน เหงื่อออก ปากแห้ง ท้องผูก ปัสสาวะเพิ่มขึ้น เบื่ออาหาร อาการชัก และภาพหลอน เป็นต้น 1
ขนาดยาของใบกระท่อมสด
มีหลายท่านสงสัยว่าเราควรจะกินใบกระท่อมเท่าไหร่กันแน่ และไม่ควรกินเกินกี่ใบ ดังนั้นข้อมูลในส่วนนี้เราจะขอสรุปให้ตารางนี้เลย 2
การใช้ใบกระท่อม | ขนาดยา (ใบสด) | ผลกระทบโดยรวม | อาการทางคลินิก |
ระดับต่ำ-กลาง | 1-5 กรัม | กระตุ้นระดับกลาง | ความตื่นตัวที่เพิ่มขึ้น, พลังงานทางกายภาพ, ความช่างพูด, เข้ากับคนง่ายพฤติกรรม |
ระดับกลาง-สูง | 5-15 กรัม | ออกฤทธิ์คล้ายฝิ่น (Opioid-like effect) | บรรเทาอาการปวดและถอน Opioid, รักษา อาการท้องร่วง อิ่มเอิบ (รุนแรงน้อยกว่ายาฝิ่น) |
ระดับสูงมาก | >15 กรัม | กดประสาท (Sedation) | ทำให้เกิดอาการมึนงง, เหงื่อออก, เวียนหัว,
คลื่นไส้ กระสับกระส่าย ตามด้วยอาการสงบและสภาพเหมือนฝัน |
หากกินกระท่อมในปริมาณที่มากเกินไปจะเกินอะไรขึ้น?
ในปี 2554-2560
มีรายงานการเสียชีวิตจากผู้ใช้กระท่อมโดยกินใบกระท่อมพร้อมกับยาชนิดอื่นๆ เช่น ไดเฟนไฮดรามีน (ยาต้านฮีสตามีน) แอลกอฮอล์ คาเฟอีน เบนโซไดอะซีพีน เฟนทานิล และโคเคน เป็นต้น จำนวน 9 รายจากทั้งหมด 11 ราย ผู้เสียชีวิตอีก 2 รายที่เหลือคือผู้ที่ได้รับสารจากใบกระท่อมเพียงอย่างเดียว 3
![](https://farmssb.com/wp-content/uploads/2021/11/สไลด์3.jpg)
ในปี 2560
องค์การอาหารและยาระบุผู้เสียชีวิตจากการกินกระท่อมอย่างน้อย 44 ราย ซึ่งได้ระบุบรายละเอียดว่าผู้เสียชีวิตใช้กระท่อมร่วมกับยาอื่นๆ เช่น ยาที่ผิดกฎหมาย ฝิ่น เบนโซไดอะซีพีน แอลกอฮอล์ กาบาเพนติน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าผลิตภัณฑ์อาหารเสริมใบกระท่อมมีสารอื่นๆเจือปนอยู่ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายในอนาคตได้ 3
กินกระท่อมแล้วจะเสพติดไหม?
คำถามนี้หลายๆท่านอาจจะสงสัยกันมาก เราต้องขอตอบแบบนี้ครับว่า การกินใบกระท่อมก็เหมือนกับการกินยาอื่นๆที่มีผลคล้ายฝิ่น (Opioid-like effect) อาจเกิดการติดได้ ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้จะรู้สึกถึงอาการถอนตัวทางกายภาพเมื่อหยุดใช้ยา ผู้ใช้บางคนก็รายงานว่าติดการกินใบกระท่อม โดยอาการถอนดังกล่าวมีหลายอาการ เช่น อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ, นอนไม่หลับ, หงุดหงิด, รู้สึกเกลียดชัง, ก้าวร้าว, มีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์, อาการน้ำมูกไหล, และการเคลื่อนไหวกระตุก เป็นต้น 1
รักษาอาการติดกระท่อมได้อย่างไร?
ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาทางการแพทย์ที่เฉพาะเจาะจงสำหรับการติดกระท่อม บางคนที่แสวงหาการรักษาพบว่าการบำบัดโดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ผลดีพอสมควร 1
นักวิทยาศาสตร์ยังคงทำการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องเพื่อพิจารณาตัวเลือกที่เหมาะสมในการรักษาการอาการเสพติด 1 ใบกระท่อมอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามในฐานะแพทย์แผนไทย เราของแนะนำสมุนไพรชนิดหนึ่งที่สามารถถอนพิษได้หลากหลายชนิด แม้กระทั่งการถอนพิษสุราเรื้อรัง ซึ่งสมุนไพรดังกล่าวมิใช่ที่ไหนอื่นใด นั่นก็คือ “รางจืด” ครับ
![](https://farmssb.com/wp-content/uploads/2021/11/สไลด์4.jpg)
สรุป
กระท่อมมีสรรพคุณทางยามากมายและมันถูกใช้กันมาตั้งแต่โบราณ แต่หากกินในปริมาณมากเกินไปจากที่เป็นประโยชน์มันจะกลับกลายเป็นโทษได้ เหมือนเป็นดาบสองคมก็มิปราน ดังนั้นควรกินอย่างจำกัด และเมื่อรู้ตัวว่าเสพติดแล้วควรจะบำบัดในทันทีเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคเองครับ
อ่านข้อมูลอื่นๆของกระท่อมได้ที่ คลิก!!!!
![](https://farmssb.com/wp-content/uploads/2021/12/kratom-book-cover-282x400.jpg)
เขียนโดย: พรหมวิหารคลินิก
๑๕ พ.ย. ๖๔
———————————–
อ้างอิง
- NIDA, 2019, April 8. Kratom DrugFacts. Retrieved from https://www.drugabuse.gov/publications/drugfacts/kratom on 2021, November 14
- Prozialeck WC, Jivan JK, Andurkar SV. Pharmacology of kratom: an emerging botanical agent with stimulant, analgesic and opioid-like effects. The Journal of the American Osteopathic Association. 2012;112(12):792-9.
- Post S, Spiller HA, Chounthirath T, Smith GA. Kratom exposures reported to United States poison control centers: 2011-2017. Clin Toxicol (Phila). 2019 Oct;57(10):847-854. doi: 1080/15563650.2019.1569236. Epub 2019 Feb 20. PMID: 30786220.