สารบัญ: คลิ๊กเลือกอ่าน
กระท่อม ประโยชน์ การใช้ มีกี่พันธ์ ทุกเรื่องเกี่ยวกับกระท่อม
ลักษณะของกระท่อม1
กระท่อมเป็นพืชวงศ์กาแฟ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Mitragyna speciosa (Korth.) Havil. อยู่ในวงศ์เข็มและกาแฟ (Rubiaceae) เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ปานกลาง ใบคล้ายใบกระดังงา มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนชื้นแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศไทย มาลายู จนถึงเกาะนิวกินี เติบโตได้ดีในที่ชุ่มชื้น ความชื้นสูง ดินอุดมสมบูรณ์ และมีแสงแดดปานกลาง

ในไทยมีอยู่ 3 พันธุ์หลัก คือ พันธุ์แตงกวา พันธุ์ยักษาใหญ่(หางกั้ง) และพันธุ์ก้านแดง พบมากในป่าธรรมชาติบริเวณภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง สตูล พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และยังพบในบางจังหวัดของภาคกลาง เช่น ปทุมธานี มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละที่ เช่น อีด่าง อีแดง กระอ่วม ท่อมหรือทุ่ม


กระท่อมมีกี่สายพันธ์3
แม้ว่ากระท่อมจะคือ Mitragyna speciosa (Korth.) Havil. ทั้งหมดแต่เมื่อแบ่งย่อยอย่างละเอียดในปัจจุบันพบว่ามีหลายสายพันธ์เป็นเวริเอชั่นย่อยด้วยกัน ตามลักษณะที่แตกต่างตามฟอร์มของรูปใบและสรรพคุณหรือรสชาติ
- ก้านแดง
- เมามาก นิยมต้ม ไม่นิยมเคี้ยวเนื่องจากเมามาก บางทีทำให้ปวดหัว

- แตงกวา
- ก้านสีเขียว ใบเรียวยาวผิวหยาบใบนิ่ม มีทั้งสายพันธ์ใต้(ใบเรียวกว่า ใบจะหยาบๆ นิ้มๆ บางทีกลายไปเป็นใบยาวๆคล้ายใบมะม่วง) กับสายพันธ์แตงกวาภาคกลาง(ใบป้อมกว่า ใบจะมันๆ แข็งกว่า)


- ใบมาเลย์
- ใบบาง มักมีเม็ดขาวๆใต้ใบ (บางทีเรียกเม็ดเย็ดนาน 555)

- โพธิ์ทอง
- ใบใหญ่คล้ายใบโพธิ์ ใบใหญ่ๆ

- เหรียญทอง
- สายพันธ์ภาคกลาง ใบบางอ้วน ปลายแหลม ใบกรอบๆ คนเคี้ยวชอบมาก

- หางกั้ง, ยักษ์ใหญ่, ยักษาใหญ่
- (ภาคกลางเรียกแมงดา) ใบหนามีหางคล้ายหางกั้ง มี 7 หางบ้าง 9 หางบ้าง มีชนิดทั้งก้านเขียวก้านแดง(ก้านแดงเจอน้อย) พันธ์นี้อร่อย หอมเวลาต้ม

ส่วนใหญ่ที่ใช้ก้านแดงเพราะก้านเขียวพอกินแล้วมันมีเมือก กว่าจะออกฤทธิ์ก็นาน ก้านแดงออกฤทธิ์ได้เร็วกว่าก้านเขียวประมาณ 5 นาที ความคงทนของฤทธิ์ ก้านแดงมีฤทธิ์นานกว่าก้านเขียว 2 ชั่วโมงในขณะที่กินปริมาณเท่ากันเวลาเดียวกัน”2 เวลาปรุงยามักใช้ก้านเขียวก้านแดงเป็นกระท่อมตัวผู้ ก้านเขียวตัวเมีย ซึ่งก็ดีเหมือนกัน ถ้าใช้ก้านแดงจะแรงกว่า ปริมาณที่ใช้ก็จะต้องลดปริมาณลง เวลาปรุงยาก็ใช้ทั้ง 5 คือ ราก เปลือก ใบ ดอก เมล็ด แต่ส่วนใหญ่ใช้ใบ
กระท่อมต่างจากกระทุ่มอย่างไร4
หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย ได้ระบุพืชจีนัส Mitragyna ที่พบในประเทศไทย อยู่ 5 สปีชีส์ ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อทั่วไปและชื่อสามัญ (เต็ม สมิตินันทน์ 2557) ดังนี้
- M. diversifolia (Wall ex G. Don) Havil. กระทุ่ม กระท่อมขี้หมู กระทุ่มดง กระทุ่มนา ท่อมขี้หมู ตุ้มน้ำ
- M. hirsuta Havil. กระทุ่มโคก ตุ้มเขา ทุ่มพาย
- M. parvifolia Korth. กระทุ่มใบเล็ก
- M. rotundifolia (Roxb.) Kuntze กระทุ่มเนิน แก่นเหลือง ตุ้มกว้าว
- M. speciosa (Korth.) Havil. กระท่อม ท่อม อีถ่าง
จะเห็นได้ว่ามีเพียง M. speciosa (Korth.) Havil. เท่านั้นที่จัดเป็น “กระท่อม” นอกนั้นเป็น “กระทุ่ม” ซึ่งพบได้มากกว่า แต่สมัยก่อนไม่ใช้กันเท่าไรอาจเป็นเพราะสรรพคุณอ่อนกว่าและรสชาติขมพร้อมทั้งเมากว่า ส่วนที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนคือปลายใบ “กระทุ่ม” ที่ป้านเป็นพุ่มกว่า

และอีกจุดหนึ่งคือกระท่อมเส้นใบมักพบเส้นใบแตกออกไปเป็นรูปตัว V ในขณะที่กระทุ่มจะไม่พบ และก้านใบของกระทุ่มจะสั้นติดกับกิ่งในขณะที่กระท่อมก้านยาวกว่า

อีกทั้งชาวใต้บางกลุ่มกล่าวว่ามี “กระทุ่มกลาย” ซึ่งเกิดจากการกลายพันธ์จากกระท่อมกลายเป็น กระทุ่มกลาย ซึ่งจะขมกว่ามากและเมากว่ามาก ชาวพื้นที่จะไม่กินกัน นอกจากนั้นใบจะมันกว่าและก้านสั้นกว่า แต่ลักษณะอื่นๆจะยังคล้ายๆต้นพันธ์เดิมอยู่
ประโยชน์1
สรรพคุณทางยา1
สมัยโบราณมีการใช้ใบกระท่อมเพื่อรักษาการติดเชื้อในลำไส้ แก้ท้องเสีย ท้องร่วง บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ลดไข้ บรรเทาอาการไอ ทำให้นอนหลับ โดยใช้ใบสดหรือใบแห้งนำมาเคี้ยว สูบ หรือชงเป็นน้ำชา กลุ่มผู้ใช้แรงงานและเกษตรกรบริโภคใบกระท่อมเพื่อกดความรู้สึกเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ทำให้ทำงานได้ยาวนานขึ้น ชาวบ้านในภาคใต้ใช้ใบกระท่อมในการรักษาอาการป่วยที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว รวมทั้งรักษาโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกรวบรวมตำรับยาแพทย์แผนโบราณที่ใช้พืชกระท่อมได้ 18 ตำรับทั้งหมดเป็นคัมภีร์ยาหลวงทั้งสิ้น เช่น
- ตำราพระโอสถพระนารายณ์ ตำรายาโรงพระโอสถ (สมัยรัชกาลที่ 2)
- ตำรายาศิลาจารึกวัดโพธิ์ (รัชกาลที่ 3)
- ตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์ (รัชกาลที่ 5)
- ตำรายาพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์เจ้ากรมหมอหลวง (รัชกาลที่ 5)
- ตำราเวชศึกษาของพระยาพิศณุประสาทเวช (รัชกาลที่ 5)
- ตำรายาแพทย์ตำบลของพระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (แพทย์หลวงประจำพระองค์ในรัชกาลที่ 6)
- และคัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณของขุนโสภิตบรรณลักษณ์ เป็นต้น

“ไมทราไจนีน” สารสำคัญที่พบเฉพาะในพืชกระท่อม1
การศึกษาทางเภสัชวิทยาพบว่าสารที่พบในกระท่อมมากที่สุดเป็นสารกลุ่มอัลคาลอยด์ (alkaloids) ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาในหลายระบบและถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคอย่างกว้างขวาง สาระสำคัญที่พบคือ ไมทราไจนีน (mitragynine) ซึ่งเป็นสารที่พบเฉพาะในพืชกระท่อมเท่านั้น ออกฤทธิ์บรรเทาอาการปวดและต้านอักเสบ นอกจากนี้ยังพบสารสกัดจากใบกระท่อมที่สำคัญ เช่น 7-hydroxymitragynine ที่มีฤทธิ์ระงับปวดได้คล้ายกับการใช้มอร์ฟีน แม้จะมีความแรงต่ำกว่ามอร์ฟีน แต่มีข้อดีกว่าตรงที่ไม่กดระบบทางเดินหายใจ ไม่ทำให้คลื่นไส้อาเจียน พัฒนาการในการติดยาช้ากว่ามอร์ฟีนหลายปี
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดจากพืชกระท่อม2
- ฤทธิ์ระงับปวด มิตรากัยนีนออกฤทธิ์คล้ายกับสารฝิ่นที่ระบบประสาทส่วนกลางทำให้การรับรู้ ความรู้สึกเจ็บปวดลดลง และสารสำคัญอีกชนิดในใบกระท่อมคือ 7-ไฮดรอกซีมิตรากัยนีน มีฤทธิ์ระงับปวดดีกว่ามอร์ฟีน และอาการข้างเคียงที่ทำให้เกิดอาการท้องผูกน้อยกว่าผลที่เกิดจากมอร์ฟีน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาในหนูทดลองที่พบว่ากระท่อมมีฤทธิ์คล้ายยารักษาอาการซึมเศร้า
- ผลต่อระบบทางเดินอาหาร มิตรากัยนีนลดการหดตัวของลำไส้เล็กส่วนต้น (ileum) โดยมีความแรงน้อยกว่ามอร์ฟีน 10 เท่า สารสกัดใบกระท่อมลดอัตราการเคลื่อนที่ของอาหารในลำไส้เล็กโดยเฉพาะจะชัดเจนเมื่อให้ยาแบบครั้งเดียว แต่เมื่อให้สารสกัดใบกระท่อมเป็นระยะเวลานาน 15-30 วัน พบว่าจะไม่ลดอัตราการเคลื่อนที่ของอาหารในลำไส้เล็ก แสดงว่าเมื่อมีการให้สารสกัดใบกระท่อมเป็นระยะเวลานาน ระบบทางเดินอาหารจะมีการปรับตัวหรืออาจเกิดภาวะทนยา (tolerance) และสารสกัดใบกระท่อมใช้รักษาอาการท้องเสียได้ดีใกล้เคียงกับยามาตรฐาน
- ผลต่อความอยากอาหาร การให้สารสกัดจากใบกระท่อมจะลดปริมาณอาหารและน้ำที่บริโภค และเมื่อใช้เป็นเวลานานพบว่าน้ำหนักตัวลดลง
- ผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด สารสกัดน้ำ สารสกัดเมทานอลจากใบกระท่อม สารสกัดอัลคาลอยด์ในใบกระท่อม รวมถึงมิตรากัยนีนเพิ่มอัตราการน้ำกลูโคสเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อ ซึ่งตรงกับตำรับแพทย์พื้นบ้านที่ใช้ใบกระท่อมรักษาโรคเบาหวาน
- ผลต่อกล้ามเนื้อลาย ทั้งสารสกัดจากใบกระท่อมและมิตรากัยนีนทำให้กล้ามเนื้อลายคลายตัว ซึ่งอาจทำให้ลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
ใบกระท่อมต้านโควิด-19 เป็น “ข่าวปลอม”

มีการโฆษณาชวนเชื่อในสื่อออนไลน์โดยผู้ผลิตผลิตภัณฑ์จากกระท่อมว่าสามารถใช้ใบกระท่อมป้องกันหรือรักษาโรคโควิด-19 โดยกรมการแพทย์แผนไทยฯ ชี้แจงว่าข้อมูลดังกล่าวเป็น “ข่าวปลอม” ปัจจุบันยังไม่พบรายงานการวิจัยที่ยืนยันว่าใบกระท่อมมีสารที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสโคโรนาที่ก่อโรคโควิด-19 นอกจากนี้องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ ยังได้ออกคำเตือนเรื่องการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนและ ไม่ได้รับการพิจารณาด้านความปลอดภัย
อันตรายต่อสุขภาพ เมื่อกินพืชกระท่อมไม่ถูกวิธี1
การบริโภคกระท่อมในปริมาณต่ำ ๆ จะออกฤทธิ์กระตุ้น ลดอาการเมื่อยล้า ทำงานได้นานขึ้น แต่ถ้าใช้ในปริมาณสูงจะมีฤทธิ์กล่อมประสาทและเสพติด ยิ่งถ้าเสพไปนาน ๆ ผู้เสพอาจมีอาการท้องผูก นอนไม่หลับ คลื่นไส้อาเจียน ผิวหนังคล้ำลง บางรายที่เสพมากเกินไปอาจพบอาการแขนกระตุก อารมณ์ซึมเศร้าหรือไม่ก็ก้าวร้าว กระวนกระวาย ความดันสูง มีอาการโรคจิตหวาดระแวง เห็นภาพหลอน พูดไม่ค่อยรู้เรื่อง เมื่อหยุดเสพใบกระท่อมก็จะทำให้ร่างกายไม่มีแรง อ่อนเพลีย ทำงานไม่ได้ปวดเมื่อยตัว
จากพืชสมุนไพรกลายเป็น “สี่คูณร้อย”
ศูนย์วิชาการด้านยาเสพติด สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดระบุว่าในช่วงปี 2547 พบว่าสารเสพติดที่เรียกว่า “สี่คูณร้อย” (4×100) เริ่มแพร่หลายในกลุ่มวัยรุ่นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สี่คูณร้อยเป็นเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมหลัก 4 อย่าง คือ
- น้ำต้มใบกระท่อม (สารหลักคือ mitragynine)
- น้ำอัดลมประเภทโคล่า (ผสมจากหัวน้ำสกัดจากผลโคล่าซึ่งมีกาแฟอีนอยู่ด้วย)
- ยาแก้ไอที่มีส่วนผสมของโคเดอีน
และยากันยุงยากันยุงชนิดขด ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นประสาท (มีสารเคมีเป็นส่วนประกอบหลายชนิด ส่วนใหญ่เป็นสารในกลุ่ม “สารไพรีทรอยด์ (Pyrethroids)” ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์เลียนแบบสารไพรีทรินที่สกัดได้จากดอกไม้ เช่น ดอกเบญจมาศ ดอกไพรีทรัม)

ทำให้ผู้เสพเมามาย และยังมีรายงานว่ามีเยาวชนเสียชีวิตจากการเสพสี่คูณร้อยอีกด้วย โดยนอกจากสูตรสี่คูณร้อยแบบดั้งเดิมแล้ว ยังมีการใส่ส่วนผสมและยาที่มีฤทธิ์กล่อมประสาทอีกหลายอย่างเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เสพ การแพร่ระบาดของสี่คูณร้อยกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่หลายหน่วยงานให้ความสำคัญ และยังทำให้พืชกระท่อมถูกจับตามากยิ่งขึ้นในฐานะที่เป็นส่วนผสมหลักของเครื่องดื่มนำไปสู่การเสพยาเสพติดชนิดอื่นที่รุนแรงขึ้น ก็อย่าสรรหาทำครับ เดี๋ยวหนักเข้า กระท่อมจะถูกจัดให้เป็นยาเสพติดอีกครั้ง ตัวใครตัวเผือกเด้อ….
อาการเมากระท่อม2
ผู้ที่ใช้ใบกระท่อมส่วนใหญ่เคยมีอาการเมากระท่อมเมื่อใช้กระท่อมเป็นครั้งแรก หรือเคี้ยวใบกระท่อมในปริมาณที่มากติดต่อกัน เมื่อกินกระท่อมขณะที่ท้องว่าง หรือใช้กระท่อมชนิดที่เมา ซึ่งกระท่อมที่กินได้มี 2 ชนิด ได้แก่ กระท่อมก้านเขียว และ ก้านแดง กระท่อมก้านแดงมีรสชาติขมกว่ากระท่อมก้านเขียวและมีฤทธิ์ยาวนานกว่าประมาณ 30 นาที เมื่อใช้ในปริมาณที่เท่ากัน ในปัจจุบันพบว่ากระท่อมก้านเขียวมีจำนวนมากกว่ากระท่อมก้านแดง อีกทั้งเป็นที่นิยมมากกว่าก้านแดง เพราะมีรสชาติที่ขมน้อยกว่าก้านแดง ส่วนกระท่อมที่ไม่สามารถกินได้ คือ กระท่อม(ทุ่ม)นา และกระท่อมขี้หมู (M. diversifolia (Wall ex G. Don) Havil.) กระท่อมนาใบจะเล็กกว่ากระท่อมก้านเขียวและก้านแดง และจะมีขนอยู่หลังใบ เมื่อเคี้ยวเข้าไปจะมีอาการระคายคอ

แต่ข้อมูลจาก รพ.อภัยภูเบศกล่าวว่า “อดีตชาวบ้านใช้ใบกระทุ่มต้มน้ำแทนใบกระท่อม เพื่อช่วยให้ทำงานหนักในพื้นที่กลางแจ้งได้นานขึ้น บรรเทาอาการเจ็บหลัง , เจ็บเอว ออกฤทธิ์คล้ายกับใบกระท่อมแต่อ่อนกว่า” และสาเหตุหนึ่งที่กระทุ่มไม่ค่อยนิยมกินกันคือรสชาตขม5
อาการเมากระท่อมได้แก่ แขนขาอ่อนแรง เดินไม่ไหว หน้าแดงชาและตึง หูร้อน อื้อและชา ง่วง ซึม ลิ้นชา ตาลาย พร่ามัว มึนหัว ปวดหัว อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อยากอาเจียนแต่ไม่อาเจียน พะอืดพะอม หรือบางคนอาการหนักถึงขั้นเวียนหัวและอาเจียน มือสั่น ตัวสั่น แน่นหน้าอก ปวดปัสสาวะ อุจจาระแต่ไม่ถ่าย ร้อนไปทั้งตัว เหงื่อออก อาการเหล่านี้จะหายไปเองภายใน 5-10 นาที บางคนมีอาการเมามากต้องนอนพักทั้งวัน ส่วนใหญ่ผู้ใช้จะมีวิธีการรักษาอาการดังกล่าวด้วยตนเอง เช่น นั่งหรือนอนพัก หรือไปทำงานให้เหงื่อออก หรือไปอาบน้ำเย็น กินน้ำเย็น กินผลไม้เปรี้ยว กินข้าว เป็นต้น อาการดังกล่าวก็จะหายไปเอง
“ซึ่งพบว่าอาการเมานี้เปลี่ยนจากฤทธิ์ที่ช่วยให้ขยัน กลายเป็นขี้เกียจไปได้เลย โดยขนาดการกินก็ราวๆเกินใบที่ 2 เป็นต้นไปก็จะเริ่มเมา”
ผลกระทบต่อสุขภาพ2
“ท้องผูก”
อาการท้องผูกมักเกิดในกลุ่มผู้ใช้ที่เคี้ยวกระท่อมแล้วไม่คายกากทิ้ง กลืนเข้าไปทั้งหมดบางคนเชื่อว่าถ้าเคี้ยวกระท่อมแล้วกลืนเข้าไปทั้งกาก ฤทธิ์ของกระท่อมจะอยู่ได้นานกว่าคายกากทิ้ง เช่น ถ้าคายกากทิ้งฤทธิ์ของกระท่อมจะอยู่ได้ประมาณ 30 นาที ถ้ากลืนเข้าไปทั้งกากฤทธิ์ของกระท่อมจะอยู่ได้ประมาณ 1 ชั่วโมง กากของกระท่อมทำให้ท้องผูก
“ผอม”
ผู้ใช้กระท่อมส่วนใหญ่จะผอม เนื่องจากกินอาหารวันละ 1-2 มื้อ พวกเขาบอกว่าเมื่อใช้กระท่อมแล้วจะไม่รู้สึกหิวหรืออยากกินข้าว บางรายที่ใช้กระท่อมมานานและใช้ในปริมาณมากจะมีอาการเบื่ออาหาร ต่างกับกลุ่มผู้ใช้กระท่อมเป็นครั้งคราวที่บอกว่าหลังจากที่เคี้ยวกระท่อมแล้วช่วยให้เขาทำงานได้มากขึ้น เมื่อเหนื่อยก็จะหิวและกินได้มาก
“สุขภาพช่องปาก”
ผู้ที่ใช้กระท่อมเป็นเวลานานและเคี้ยวกระท่อมเรื่อย ๆ เกือบตลอดทั้งวันโดยไม่เอาก้านใบทิ้งเศษก้านที่แข็งอาจทิ่มเหงือกและเจ็บได้ บางรายที่ใช้กระท่อมจำนวนมากต่อวัน กลิ่นตัวและกลิ่นปากจะคล้ายกับกลิ่นใบกระท่อม เป็นกลิ่นเหม็นเขียวของใบกระท่อม
“กลัวฝน”
อาการกลัวฝนมักเกิดกับผู้ที่ใช้พืชกระท่อมเป็นเวลานาน และใช้ในปริมาณมาก ผู้ใช้กระท่อมเล่าว่าเมื่อไรก็ตามที่ฝนตกเขาจะรู้สึกหนาวเย็นเข้ากระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อแขน ขา ไอน้ำมูกไหล และมีอาการหนาวสั่น วันที่มีฝนตกบางรายไม่ออกไปทำงาน นั่งห่มผ้าอยู่บ้าน เคี้ยวกระท่อมแล้วดื่มน้ำอุ่น
“ผิวคล้ำ”
ผู้วิจัยพบว่าผู้ใช้กระท่อมส่วนใหญ่โดยเฉพาะกลุ่มที่ใช้เป็นประจำ ผิวจะดำเกรียม ซึ่งอาจเกิดจากการทำงานภายใต้แสงแดดที่ร้อนระอุเป็นเวลานาน เพราะกินท่อมทำให้ทนแดดไม่รู้สึกร้อนนักเมื่อเจอแดด
สูตรอาหาร/เครื่องดื่ม ต่างๆของกระท่อม
- น้ำทุ่มเท6

“กระทุ่ม” เป็นพืชในวงศ์เดียวกับกระท่อม ช่วยทำให้มีความแข็งแรง ทนแดด สู้งาน ช่วยให้ร่างกายอุ่นขึ้น ช่วยลดอาการปวดเมื่อย มีฤทธิ์ลดปวดและลดความดันโลหิต
สูตรน้ำทุ่มเท มีส่วนประกอบ ดังนี้
1.ใบกระทุ่มแห้ง 4 กรัม (อาจประยุกต์ใช้ใบกระท่อมได้)
2.ใบเตย 10 กรัม
3.แก่นฝาง 10 กรัม
4.กระวาน 2 กรัม
5.กานพลู 2 กรัม
6.น้ำมะนาว 2 ลูก
7.เกลือ 1 ช้อนชา
8.น้ำเชื่อม 10 มิลลิลิตร
9.น้ำเปล่า 2 ถ้วยตวง
10.ใบสะระแหน่ 10 ใบ
วิธีทำ
1.แกะเปลือกกระวานออก ตำกับกานพลูพอแตก
2.ล้างใบกระทุ่ม แก่นฝาง หั่นใบเตยเตรียมไว้
3.นำส่วนผสม ข้อ 1 และ ข้อ 2 ใส่หม้อเติมน้ำเปล่า 2 ถ้วย ตั้งไฟปานกลาง 15-20 นาที
4.พักให้หายร้อน กรองเอาแต่น้ำ ตักใส่แก้วปรุงรสด้วยน้ำผึ้ง น้ำเชื่อม น้ำมะนาว เกลือ แล้วฉีกใบสะระแหน่ใส่ลงไป คนให้เกิดกลิ่นหอม
***หรือจะเคี่ยวน้ำทุ่มเท ปรุงรสแล้วผสมโซดา ใส่น้ำแข็ง ดื่มเย็นๆ ก็ชื่นใจ
“ใบกระท่อมชุบแป้งทอด”7
เมนูฮิตจากประเทศเพื่อนบ้าน มาเลเซีย โดยนิยมกินเป็นอาหารเช้าคู่กับ กาแฟ เพื่อช่วยให้เริ่มการทำงานในตอนเช้าได้อย่างกระปรี้กระเปร่า

“กระท่อมในซอสอาหารต่าง”7
เป็นการประยุกต์ใส่ กระท่อมผง ลงในซอสสำหรับปรุงอาหาร เช่น ซอสแอปเปิ้ลที่ใช้เป็นของหวาน โดยใช้ความหวานกลบความขมของกระท่อม หรือซอสสเต็ก ที่ปรุงใช้มีรสชาติกลมกล่อม
“กระท่อมสมูตตี้”7
ใช้ใบกระท่อมสด หรือ กระท่อมผง ปั่นรวมกับน้ำผลไม้ หรือพืชผัก เช่น ส้ม มะนาว มะพร้าว มะม่วง กล้วย คะน้า ผักโขม สตรอเบอร์รี่ กลายเป็นเมนูสำหรับคนรักสุขภาพ
“บราวนี่กระท่อม”7
ใช้กระท่อมผง เป็นส่วนผสม แบบเดียวกับ กัญชา หรือผสมรวมกันเป็นบราวนี่สมุนไพร รสช็อกโกแลตในขนม และน้ำตาลจะช่วยกลบความขมของกระท่อมได้
“กาแฟกระท่อม”7
ผสมกระท่อมผงในกาแฟ เครื่องดื่มตอนเช้า เพื่อช่วยในการทำงานตลอดวัน มีความกระฉีบกระเฉงเพิ่มขึ้น
ตอนนี้กระท่อมผิดกฎหมายหรือไม่
นับตั้งแต่ วันที่ 24 ส.ค.64 กระท่อมไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 อีกต่อไป อ้างอิง พระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2564 โดยเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ในหลายประเทศมิได้กำหนดให้ พืชกระท่อมเป็นยาเสพติดให้โทษประกอบกับอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1961 และพิธีสาร แก้ไขอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ.1972 มิได้กำหนดให้ “กระท่อม” เป็นยาเสพติด ให้โทษ สมควรยกเลิกพืชกระท่อมจากการเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 จึงจำเป็นต้องตรา พระราชบัญญัตินี้ ซึ่งหลังประกาศฉบับนี้ อีก 90 วัน พรบ.ฯ จะมีผลสมบูรณ์ (วันที่ 24 ส.ค.64)

ทำไมในอดีตกระท่อมถึงผิดกฎหมาย8
กระท่อมถูกควบคุมครั้งแรกสมัยรัชกาลที่ 8 โดยมีการตรา พ.ร.บ. พืชกระท่อม พ.ศ. 2486 ระบุว่า “ห้ามผู้ใดเสพ ปลูก มี ซื้อ ขาย ให้ หรือแลกเปลี่ยนพืชกระท่อม เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงาน เพื่อประโยชน์ในการประกอบโรคศิลป์หรือวิทยาศาสตร์ ผู้ใดฝ่าฝืน มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ”
เมื่อมีการออก พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 พืชกระท่อมก็ถูกควบคุมอย่างต่อเนื่องในฐานะ “ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5” ซึ่งมีพืชเสพติดจัดอยู่ในประเภทนี้ทั้งหมด 4 ชนิด นอกจากกระท่อมแล้วก็มีกัญชา ฝิ่นและเห็ดขี้ควาย
เหตุผลที่แท้จริงของการออก พ.ร.บ.พืชกระท่อม พ.ศ. 2486 เนื่องจากฝิ่นที่รัฐเป็นผู้ผูกขาดผลิตฝิ่นสุก ฝิ่นดิบ มีราคาแพง ทำให้คนหันมาสูบกระท่อมแทนฝิ่น ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าแท้ที่จริงการตรา พ.ร.บ.พืชกระท่อม พ.ศ. 2486 และใช้สืบเนื่องมาจนถึง 23 ส.ค.64 นี้ มีเหตุผลและหลักการทางการค้าทางภาษีของรัฐ หาใช่เพราะเหตุที่พืชกระท่อมเป็นพืชเสพติดเองไม่ ขณะที่องค์การสหประชาชาติ(UN) จะยังมิได้มีการประกาศควบคุมพืชกระท่อมในบัญชีรายชื่อยาเสพติดหรือวัตถุออกฤทธิ์ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ

พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 ให้สถานะใหม่พืชกระท่อม1
ปี 2564 มีการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษอีกครั้งเป็นฉบับที่ 8 มีสาระสำคัญอยู่ที่การปลดพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษ รวมทั้งยกเลิกบทลงโทษทั้งหมดที่เกี่ยวกับพืชกระท่อม
พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2564 และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 24 ส.ค. 2564 โดยระบุถึงเหตุผลในการประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้ว่า
“โดยที่ปัจจุบันพืชกระท่อมเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แต่ในหลายประเทศมิได้กำหนดให้พืชกระท่อมเป็นยาเสพติดให้โทษ ประกอบกับอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1961 และพิธีสารแก้ไขอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1972 มิได้กำหนดให้พืชกระท่อมเป็นยาเสพติดให้โทษ ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสากลและบริบทของสังคมไทยในบางพื้นที่ที่มีการบริโภคพืชกระท่อมตามวิถีชาวบ้าน สมควรยกเลิกพืชกระท่อมจากการเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5”
พืชกระท่อมกำลังจะมีกฎหมายเป็นของตัวเอง1
ขั้นตอนต่อไปหลังจากปลดพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษแล้ว ก็จะมีการออก พ.ร.บ.พืชกระท่อม เพื่อจัดการดูแลพืชกระท่อมโดยเฉพาะ ซึ่ง ร่าง พ.ร.บ. พืชกระท่อมที่เสนอโดยกระทรวงยุติธรรมได้ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแล้วตั้งแต่เดือน ต.ค. 2563 ขณะนี้อยู่ระหว่างรอเข้าสภา
กฎหมายฉบับนี้ได้กำหนดมาตรการกำกับดูแลการปลูกพืชกระท่อม การขาย การนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อม เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เช่น

- กำหนดให้การปลูกพืชกระท่อม การขาย การนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อม เพื่อประโยชน์เชิงอุตสาหกรรม ต้องได้รับใบอนุญาต
- กำหนดคุณสมบัติและระเบียบเกี่ยวกับสถานที่ขาย นำเข้าหรือส่งออกพืชกระท่อม
- กำหนดมาตรการป้องกันการใช้ใบกระท่อมในทางที่ผิด เช่น ห้ามขายใบกระท่อม น้ำต้มใบกระท่อม หรืออาหารที่มีใบกระท่อมเป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบแก่บุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปี หญิงมีครรภ์และหญิงให้นมบุตร หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท, ห้ามบริโภคใบกระท่อมหรือน้ำต้มใบกระท่อมที่ปรุงผสมกับยาเสพติดให้โทษ ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท เป็นต้น
* แปลว่าช่วงนี้จนกว่า พ.ร.บ. พืชกระท่อม จะคลอดออกมา ความชัดเจนในเรื่องของการปลูก ซื้อ-ขายกระท่อม ตลอดจนเงื่อนไข เช่น ต้องขออนุญาตในกรณีไหนบ้าง ขอใครและอย่างไร ปลูกได้มากสุดเท่าไร … ก็ยังคลุมเครือต่อไปครับ9, 10
เนื้อหาเกี่ยวกับ พรบ.กระท่อม ที่รอความชัดเจนในรายละเอียด10
มาตรการควบคุมและกำกับดูแล
- ในเชิงอุตสาหกรรม การขาย นำเข้า หรือส่งออกพืชกระท่อมต้องได้รับใบอนุญาตจากภาครัฐ
- ใบอนุญาตดังกล่าว หากเป็นใบอนุญาตเพื่อปลูกและขายพืชกระท่อมมีอายุ 5 ปี ส่วนใบอนุญาตนำเข้าและส่งออกมีอายุ 1 ปี
- กำหนดข้อคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะขอใบอนุญาต
หน้าที่ของผู้รับใบอนุญาต ซึ่งเนื้อหาประเด็นนี้สัมพันธ์กับข้อ 1
- ผู้มีใบอนุญาตปลูกพืชกระท่อม ต้องเพาะปลูกในที่ดินหรือสถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาตเท่านั้น
- ผู้รับใบอนุญาตขาย นำเข้า และส่งออกใบกระท่อม ต้องจัดให้มีป้ายระบุสถานที่ขาย นำเข้า หรือส่งออกให้ชัดเจน และต้องจัดให้มีฉลากและเอกสารกำกับ โดยอย่างน้อยต้องระบุแหล่งที่มา คำเตือน และข้อควรระวัง
การคุ้มครองและป้องกันการใช้กระท่อมในทางที่ผิด
- ห้ามขายใบ น้ำ หรืออาหารที่มีส่วนผสมของพืชกระท่อมแก่บุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปี สตรีมีครรภ์ และสตรีที่กำลังให้นมบุตร ฝ่าฝืนมีโทษปรับผู้ขายไม่เกิน 30,000 บาท
- กรณีที่มีการขายในสถานศึกษา หอพัก สวนสาธารณะ สวนสัตว์ สวนสนุก หรือขายผ่านระบบออนไลน์ ฝ่าฝืนมีโทษปรับผู้ขายไม่เกิน 50,000 บาท
- ห้ามผู้ใดก็ตามบริโภคใบหรือน้ำกระท่อมที่ผสมกับยาเสพติดให้โทษ ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท
- ผู้ปลูกหรือขายพืชกระท่อมในปริมาณที่เกินกำหนดไว้ในกฎกระทรวง (ยังไม่มีออกมา) หรือนำเข้าและส่งออกโดยไม่มีใบอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
วิธีการขยายพันธ์กระท่อม

- เพาะเมล็ด ข้อดีคือได้ต้นจำนวนมาก ข้อเสียคือกลายพันธ์และโตช้า สองปีแรกใบจะไม่แกร่ง หลายปีกว่าจะได้กิน
- ตอนกิ่ง ข้อดีคือได้สายพันธ์แท้ ให้ผลผลิตไวแต่ปลูกยากมักปลูกไม่ติดเนื่องจากขาดรากแก้ว
- ต้นเสียบยอด มักใช้ต้นตอกระทุ่มเป็นต้นเลี้ยง เนื่องจากแข็งแรง ทำให้ 1 ต้นได้หลายสายพันธ์ หรือสามารถเลือกสายพันธ์ที่กินอร่อยมาเสียบยอดได้
* ปกติคอกระท่อมจะเลือกกินเฉพาะต้นที่กินอร่อยเป็นสำคัญ การปลูกกระท่อมจึงมีมิติของการคัดสายพันธ์ด้วย
ประเทศเพื่อนบ้านใครปลูกกระท่อมอย่างเสรีบ้าง1
มีหลายประเทศที่อนุญาตให้ซื้อขายและส่งออกกระท่อมได้อย่างถูกกฎหมาย เช่น อินโดนีเซีย ในอังกฤษมีการขายกระท่อมทั้งใบสด ใบแห้ง ผง และสารสกัด ผู้บริโภคสามารถหาซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์
กระท่อมกับยาควบคุม/เฝ้าระวังในบางประเทศ1
- ประเทศมาเลเซีย ปัจจุบันกระท่อมถูกควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุมีพิษ หรือ Poisons Act 1952 พืชกระท่อมถือเป็นวัตถุมีพิษหรือยาเสพติดที่ไม่ร้ายแรงตามบัญชีแนบท้ายกฎหมายนี้ (อยู่ในบัญชี 3) คือ อัลคาลอยด์ มิตรากัยนีน นอกจากนี้ กฎหมาย Poisons Act ยังบัญญัติให้สาร mitragynine เป็นวัตถุมีพิษในบัญชี 1 (FIRST SCHEDULE) ด้วย โดยอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับสารนิโคติน (nicotine) ที่อยู่ในใบยาสูบด้วย กฎหมาย Poisons Act มิได้บัญญัติความผิดและโทษอาญาแก่ผู้ใช้กระท่อมของบุคคล และไม่มีกฎหมายที่ตัดฟันต้นกระท่อมเหมือนกฎหมายไทยอีกทั้งยังอนุญาตให้นำใบกระท่อมไปใช้ในการรักษาหรือเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ได้2
- องค์การสหประชาชาติไม่ได้ประกาศควบคุมพืชกระท่อมในบัญชีรายชื่อยาเสพติดหรือวัตถุออกฤทธิ์ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ แต่จากสำนักงานควบคุมยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) ได้ขอความร่วมมือให้ประเทศสมาชิกเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ของสารออกฤทธิ์ ซึ่งมีพืชกระท่อมรวมอยู่ด้วย ขณะที่บางประเทศ เช่น เดนมาร์ก ลัตเวีย ลิทัวเนีย โปแลนด์ โรมาเนีย สวีเดน นิวซีแลนด์จัดให้พืชกระท่อม, สารไมทราไจนีน และสาร 7-hydroxymitragynine เป็นยาควบคุม
ประเทศที่ยังถือว่ากระท่อมผิดกฎหมาย2
- ประเทศออสเตรเลีย พืชกระท่อม หรือสาร mitragynine ถูกจัดอยู่ใน Schedule 9 มีผล ทำให้พืชกระท่อมไม่สามารถปลูกในออสเตรเลียได้ ไม่สามารถนำเข้า จำหน่ายหรือครอบครองใบกระท่อม หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากใบกระท่อม รวมถึงสาร mitragynine ในออสเตรเลีย ยกเว้นกรณีการศึกษาวิจัยในทางการแพทย์ ทางวิทยาศาสตร์ หรือใช้ในการเรียนการสอนเท่านั้น
- ประเทศสหรัฐอเมริกา 6 มลรัฐ มลรัฐส่วนใหญ่ไม่มีกฎหมายควบคุมพืชกระท่อมและสาร mitragynine แต่มีเพียง 6 มลรัฐที่มีกฎหมายกำหนดให้พืชกระท่อมเป็นสารเสพติด (controlled substances) ที่อยู่ในบัญชี 1 ตามกฎหมาย หรือมีบทบัญญัติห้ามการผลิต จำหน่าย การให้เงินทุนสนับสนุน ส่งเสริมหรือห้ามครอบครองใบกระท่อม ได้แก่ กฎหมายมลรัฐ Indiana, Tennessee, Wisconsin, Vermont, Arkansas และ Alabama
ปลูกกระท่อมได้กี่ต้น ขออนุญาตจากใคร (รอข้อมูล พรบ.กระท่อม)
จะขายกระท่อมอย่างไร ต้องจดทะเบียนไหม?13
จริงๆแล้วความชัดเจนจะทยอยๆระบุออกมาหลังจากที่มีการประกาศ พรบ.กระท่อมออกมาอีกทีครับ โดยล่าสุด สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด(ปปส.) ออกมาเตือนเรื่องการขายน้ำกระท่อมว่า การต้มน้ำกระท่อมขาย หรือการแปรรูปเป็นเครื่องดื่ม นั้นยังเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แม้จะมีการเปิดเสรี

“ผู้ประกอบการ ต้องไปขออนุญาตจาก องค์การอาหารและยา(อย.)เสียก่อน เพื่อให้มีการตรวจสอบทั้งในส่วนของสารประกอบอาหาร และวิธีการผลิต โดยผู้ประกอบการสามารถขอจดทะเบียนได้ที่ อย.และ สำนักงาน ปปส.ทุกแห่ง”
แม้ว่าขณะนี้กฎหมายจะเปิดให้มีการซื้อขายพืชกระท่อมได้อย่างเสรี แต่เสรีเฉพาะใบกระท่อม และต้นพันธุ์กระท่อมเท่านั้น ในส่วนการแปรรูปลักษณะเครื่องดื่มพร้อมใช้ เช่น น้ำกระท่อม หรือน้ำกระกระท่อมผสมเครื่องชูรสอื่นๆนั้นยังถือว่าผิดกฎหมายหากไม่มีการขออนุญาต ตาม พ.ร.บ.อาหารและยา
หาซื้อกระท่อมได้ที่ไหน?
ที่น่าเชื่อถือได้แก่ admin กลุ่ม เมล็ดพันธุ์กระท่อม(ใช้ในทางสมุนไพรทางยา) : แป๊ปซี่ นพดล คล้ายนิมิตร
ประเทศเพื่อนบ้านใครปลูกกระท่อมอย่างเสรีบ้าง1
มีหลายประเทศที่อนุญาตให้ซื้อขายและส่งออกกระท่อมได้อย่างถูกกฎหมาย เช่น อินโดนีเซีย ในอังกฤษมีการขายกระท่อมทั้งใบสด ใบแห้ง ผง และสารสกัด ผู้บริโภคสามารถหาซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์
กระท่อมกับยาควบคุม/เฝ้าระวังในบางประเทศ1
- ประเทศมาเลเซีย ปัจจุบันกระท่อมถูกควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุมีพิษ หรือ Poisons Act 1952 พืชกระท่อมถือเป็นวัตถุมีพิษหรือยาเสพติดที่ไม่ร้ายแรงตามบัญชีแนบท้ายกฎหมายนี้ (อยู่ในบัญชี 3) คือ อัลคาลอยด์ มิตรากัยนีน นอกจากนี้ กฎหมาย Poisons Act ยังบัญญัติให้สาร mitragynine เป็นวัตถุมีพิษในบัญชี 1 (FIRST SCHEDULE) ด้วย โดยอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับสารนิโคติน (nicotine) ที่อยู่ในใบยาสูบด้วย กฎหมาย Poisons Act มิได้บัญญัติความผิดและโทษอาญาแก่ผู้ใช้กระท่อมของบุคคล และไม่มีกฎหมายที่ตัดฟันต้นกระท่อมเหมือนกฎหมายไทยอีกทั้งยังอนุญาตให้นำใบกระท่อมไปใช้ในการรักษาหรือเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ได้2
- องค์การสหประชาชาติไม่ได้ประกาศควบคุมพืชกระท่อมในบัญชีรายชื่อยาเสพติดหรือวัตถุออกฤทธิ์ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ แต่จากสำนักงานควบคุมยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) ได้ขอความร่วมมือให้ประเทศสมาชิกเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ของสารออกฤทธิ์ ซึ่งมีพืชกระท่อมรวมอยู่ด้วย ขณะที่บางประเทศ เช่น เดนมาร์ก ลัตเวีย ลิทัวเนีย โปแลนด์ โรมาเนีย สวีเดน นิวซีแลนด์จัดให้พืชกระท่อม, สารไมทราไจนีน และสาร 7-hydroxymitragynine เป็นยาควบคุม
ประเทศที่ยังถือว่ากระท่อมผิดกฎหมาย2
- ประเทศออสเตรเลีย พืชกระท่อม หรือสาร mitragynine ถูกจัดอยู่ใน Schedule 9 มีผล ทำให้พืชกระท่อมไม่สามารถปลูกในออสเตรเลียได้ ไม่สามารถนำเข้า จำหน่ายหรือครอบครองใบกระท่อม หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากใบกระท่อม รวมถึงสาร mitragynine ในออสเตรเลีย ยกเว้นกรณีการศึกษาวิจัยในทางการแพทย์ ทางวิทยาศาสตร์ หรือใช้ในการเรียนการสอนเท่านั้น
ประเทศสหรัฐอเมริกา 6 มลรัฐ มลรัฐส่วนใหญ่ไม่มีกฎหมายควบคุมพืชกระท่อมและสาร mitragynine แต่มีเพียง 6 มลรัฐที่มีกฎหมายกำหนดให้พืชกระท่อมเป็นสารเสพติด (controlled substances) ที่อยู่ในบัญชี 1 ตามกฎหมาย หรือมีบทบัญญัติห้ามการผลิต จำหน่าย การให้เงินทุนสนับสนุน ส่งเสริมหรือห้ามครอบครองใบกระท่อม ได้แก่ กฎหมายมลรัฐ Indiana, Tennessee, Wisconsin, Vermont, Arkansas และ Alabama
เอกสารเชิงวิชาการโหลดฟรี เกี่ยวกับกระท่อมที่แนะนำให้อ่าน
ผู้เขียน อรรถวัติ Rx
ผู้เผยแพร่ พรหมวิหารคลินิก
๒๔ สิงหาคม ๖๔
(เขียนในวันประกาศปลดล็อคกระท่อมในประเทศไทย)
หาซื้อต้นกระท่อมสายพันธุ์ต่างๆ
- กระท่อม ก้านแดง
- กระท่อม ก้านเขียว
- กระท่อม หางกั้ง
- กระท่อม เหรียญทอง
- กระท่อม โพธิ์ทอง
อ้างอิง
- https://www.khaosod.co.th/bbc-thai/news_6580427. พืชกระท่อม: 10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรที่ได้รับการปลดจากสถานะ “ยาเสพติดให้โทษ”.
- https://cads.in.th/cads/media/upload/1594881548-Kratom%20Final.pdf. บทสรุปของพืชกระท่อม.
- https://www.youtube.com/watch?v=IqO7VWFgWNE. กระท่อมมีกี่สายพันธุ์? “ฉบับสมบูรณ์”.
- ccpe.pharmacycouncil.org. พืชกระท่อม (Kratom) รศ.ดร.จุไรทิพย์ หวังสินทวีกุล.
- https://www.nationtv.tv/news/378748763. สมุนไพร “กระทุ่ม” น้องใบกระท่อม.
- https://www.sentangsedtee.com/food-recipes-for-job/article_130104. แจกสูตรน้ำบำรุงกำลัง ทำจาก ใบ “กระทุ่ม” น้องกระท่อม ดื่มแล้ว อึด ถึก ทน.
- https://www.thaiquote.org/content/244995. แนะนำสารพัดเมนูจาก “กระท่อม” ไอเดียต่างชาติที่ทำคนไทยอึ้ง.
- https://kasettumkin.com/herb/article_7589. “กระท่อม”สุดยอดสมุนไพร-แต่ต้องห้าม.
- https://www.youtube.com/watch?v=UUWMP0eM_pM. EP252 สรุปน้ำกระท่อมผิดไหม ปลูกต้องขอไหม ไขข้อข้องใจ | ทนายปวีณ.
- https://thematter.co/social/politics/quickbite-kratom-law-2-june/144869. ‘ปลดล็อกกระท่อม’ ทำความเข้าใจกฎหมายยาเสพติดฉบับล่าสุด หลังกระท่อมพ้นยาเสพติดประเภท 5.