สมุนไพรรักษาโรคพาร์กินสัน
ก่อนอื่นผมขอในข้อมูลในส่วนของโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) ก่อนเลย…เจ้าโรคพาร์กินสันเป็นกลุ่มอาการที่มีการเคลื่อนไหวผิดปกติ, มีอาการสั่นตามอวัยวะต่างๆ, กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง ไม่ยืดหยุ่น การเคลื่อนไหวร่างกายช้าลง เป็นต้น อาการดังกล่าวยังไม่นับร่วมถึงอาการแทรกซ้อนต่างๆที่จะสามารถเกิดขึ้น เช่น กลืนลำบาก, ปัสสาวะลำบาก, ท้องผูก, และ ภาวะซึมเศร้า เป็นต้น
สาเหตุของการเกิดโรคก็คือ “ความเสื่อมลงของเซลล์ในสมอง” หรือ “สมองส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวถูกทำลายลง”
ข่าวดี ก็คือ การเสื่อมของสมองและความรุนแรงของโรคจะค่อย ๆ เกิดขึ้นและค่อย ๆ แสดงอาการออกมาอย่างช้า ๆ ไม่ได้มีอาการเกิดขึ้นอย่างกะทันหันอย่างโรคร้ายแรงอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ไม่เพียงตัวผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่ได้รับความทุกข์ทรมานนี้ แต่ยังร่วมถึงคนใกล้ชิดที่ค่อยดูแลด้วย
ดังนั้นวัตถุประสงค์ของโพสนี้คือการนำเสนอข้อมูลดีๆ เช่น สมุนไพรการรักษาโรคพาร์กินสัน
สมุนไพรรักษาโรค
- หมามุ่ย: มีการศึกษาปริมาณสาร levodopa หรือ L-dopa ในเมล็ดหมามุ่ยที่มีตามธรรมชาติ พบปริมาณ 1-6.1% และอาจพบสูงถึง 12.5% ในขณะที่ส่วนใบของหมามุ่ยพบเพียง 0.5% ซึ่ง L-dopa ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประสาทได้แก่ epinephrine, norepinephrine และ dopamine เมื่อ levodopa ผ่าน blood brain barrier เข้าไปในสมอง ระดับ dopamine ในสมองก็จะเพิ่มขึ้น ซึ่งมีผลต่อสมองหลายด้าน โดยเฉพาะด้านควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย เพราะผู้ป่วยโรคพาร์กินสันส่วนใหญ่จะมีความปกติด้านการเคลื่อนไหว อันเป็นผลมาจากสมองส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหว มีสาร dopamine ที่ลดลง ปัจจุบันสาร L-dopa จากเมล็ดหมามุ่ยถูกนำมาใช้เป็นสารตั้งต้นสำหรับการผลิตยารักษาพาร์กินสันและเริ่มมีการศึกษาวิจัยใช้เมล็ดหมามุ่ยในสัตว์ทดลอง และในผู้ป่วยพาร์กินสันผลการศึกษาส่วนใหญ่เป็นไปในแนวทางที่ว่าเมล็ดหมามุ่ยมีประสิทธิภาพดีเทียบเท่า หรือดีกว่ายา L-dopa เช่น ใช้สารสกัดผงเมล็ดหมามุ่ย 45 กรัมต่อวัน (เทียบเท่า L-dopa 1500 มิลลิกรัม) พบว่าอาการของโรคพาร์กินสันดีขึ้นภายในระยะเวลา 12-20 สัปดาห์
- กะทกรก: พืชสมุนไพรหลายชนิดที่มีผลในการช่วยให้การทำงานของสารโดปามีนในสมองดีขึ้น เนื่องจากพืชเหล่านั้นมี สารอัลคาลอยด์ที่มีคุณสมบัติคล้ายกับ monoamine oxidase inhibitors (MAOIs) ที่ทำหน้าที่ช่วยยับยั้งการทำลายสารสื่อประสาทโดปามีนในเซลล์สมอง จึงช่วยลดอาการผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเคลื่อนไหว สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง ประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร จึงได้ ศึกษาวิจัยและพัฒนาพืชสมุนไพรที่ไม่เป็นพิษ และมีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการจากโรคพาร์กินสันในผู้สูงอายุ พบว่า สารสกัดจากกะทกรก สามารถเพิ่มระดับสารสื่อประสาท dopamine และลดระดับเอนไซม์ MAO-B ในสมองหนูทดลองได้อย่างมีนัยสำคัญ
- กัญชา: ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ควบคุมการทำงานของระบบร่างกายหลายๆระบบ ซึ่งรวมทั้ง ระบบการเรียนรู้ ระบบการทรงตัวหรือเคลื่อนไหว การเจ็บปวด และอารมณ์ เป็นต้น ซึ่งระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ก็สามารถควบคุมสมองในส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายได้ด้วยเช่นกัน โดยมีการศึกษาค้นพบว่า การส่งสัญญานของระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ที่มีประสิทธิภาพสามารถทำให้การเคลื่อนไหวของร่างกายมีประสิทธิภาพดีขึ้น ซึ่งสารสื่อประสาทหลักที่เกี่ยวข้องกับโรคพาร์กินสันนั้น ก็คือ สารสื่อประสาทโดปามีน ซึ่งพบว่า การลดลงของสารสื่อประสาทชนิดนี้หรือความไม่สมดุลในสมองส่งผลให้มีผลต่อการทรงตัวหรือเคลื่อนไหวร่างกาย จึงทำให้เกิดอาการของโรคพาร์กินสันได้ ซึ่งพบว่า ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ก็สามารถออกฤทธิ์ในการส่งสัญญานที่เกี่ยวข้องกับสารโดปามีนได้ด้วยเช่นกัน สารไฟโตแคนนาบินอยด์ในกัญชา ทำหน้าที่เหมือนสารสื่อประสาทชนิดหนึ่ง คล้ายกับสารสื่อประสาทที่ร่างกายสร้างขึ้นพวกสารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ เช่น AEA และ 2-AG และสารเหล่านี้ ทั้งที่ร่างกายสร้างขึ้นเอง และจากกัญชา ก็มีบทบาทในการควบคุมการทำงานหรือมีผลต่อการทำงานในระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ซึ่งระบบนี้ปัจจุบันก็พบว่า มีส่วนสัมพันธ์กับการควบคุมระบบการเคลื่อนไหวและทรงตัวของมนุษย์ด้วย กัญชามีสรรพคุณป้องกันสมองเสื่อมในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ดังนั้น กัญชา จึงเปรียบเสมือนกับสารสื่อประสาทที่จะเข้าไปมีผลในการปรับสมดุลหรือควบคุมเพื่อทำให้ภาวะโรคพาร์กินสันดีขึ้นได้ เพราะจะไปทำให้สารสื่อประสาทที่มีความผิดปกติกลับมาทำงานได้อย่างใกล้เคียงเหมือนเดิม นอกจากนี้ กัญชา กัญชง ยังสามารถลดการอักเสบของเซลล์สมอง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ระบบสารสื่อประสาทในผู้ป่วยพาร์กินสันทำงานผิดปกติไป การลดการอักเสบ ก็เท่ากับ ทำให้ระบบสารสื่อประสาทกลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้อาการผู้ป่วยดีขึ้น สารไฟโตแคนนาบินอยด์จากกัญชาได้ชื่อว่าเป็น สารที่มีประโยชน์ต่อสมอง หรือ มีคุณสมบัติปกป้องสมอง ซึ่งในกรณีผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการทรงตัวหรือเคลื่อนไหวจนกลายเป็นโรคพาร์กินสันนั้น พบว่า สารในกลุ่มนี้ เช่น สาร THC และ สาร CBD สามารถมีผลต่อการทำงานของระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับสารสื่อประสาทโดปามีนได้ โดยพบว่า ผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนหนึ่งจะมีการอักเสบบริเวณเซลล์ประสาทที่มีการควบคุมสารสื่อประสาทโดปามีน ทำให้มีความผิดปกติเกิดขึ้น จนนำไปสู่การที่ร่างกายขาดสารโดปามีน ซึ่งพบว่า การกระตุ้นตัวรับ CB1 จะทำให้อาการสั่นของผู้ป่วยดีขึ้น แต่ในขณะเดียวกันการยับยั้งตัวรับ CB1 จะทำให้อาการเคลื่อนไหวช้าของผู้ป่วยดีขึ้นเช่นกัน ดังนั้น กัญชาซึ่งมีสารไฟโตแคนนาบินอยด์ที่เปรียบเสมือนสารสื่อประสาทชนิดหนึ่ง และสามารถจับกับตัวรับในสมองบริเวณที่มีปัญหาเกิดขึ้นแล้วทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน จึงอาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการพัฒนาต่อยอดไปเป็นยาทางในการรักษาหรือบรรเทาโรคพาร์กินสันได้
ผู้เขียน ธาร์มันษ์ ตลับเพชร์สกุล
๒๑ มิ.ย. ๖๔
ถ้าหากท่านใดมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้ฟ้าทะลายโจร หรือสมุนไพรต่างๆ ก็สามารถติดต่อสอบถามมาได้ที่
- Instagram : phromthawihan_herb
- เบอร์โทร : 082-189-3639
- Line : @phromthawihanherb
อ้างอิง