บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ
ประวัติ/จุดมุ่งหมายของหนังสือ บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ
ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายโดยเฉพาะกลุ่มพืชดอก ซึ่งมีอยู่มากกว่า 10,000 ชนิด เพราะเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้นแต่พบว่าพืชเหล่านั้นยังมิได้เป็นที่รู้จักหรือถูกนำมาใช้ประโยชน์เลย โดยเฉพาะในกลุ่มไม้ดอกไม้ประดับในปัจจุบันประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในเขตร้อน หันมาให้ความสนใจ ทำการศึกษาวิจัย และพัฒนาทรัพยากรชีวภาพพื้นเมืองกันอย่างกว้างขวางและสนับสนุนการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนมากยิ่งขึ้นเนื่องจากทรัพยากรเหล่านี้กำลังถูกทำลายลงเรื่อยๆ จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม การลดลงของพื้นที่ป่าไม้ และกิจกรรมที่ไม่เหมาะสมของมนุษย์
![บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ](https://farmssb.com/wp-content/uploads/2021/08/บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ-280x400.jpg)
การนำเอาทรัพยากรพืชพื้นเมืองในกลุ่มไม้ดอกไม้ประดับที่มีอยู่มาพัฒนาให้เกิดประโยชน์ ถือได้ว่า เป็นการอนุรักษ์รูปแบบหนึ่ง นอกจากจะสามารถสร้างรายได้แล้ว ยังเป็นการเผยแพร่คุณค่าและ ความงามของพรรณไม้ให้เป็นที่ประจักษ์ หากแต่การใช้ประโยชน์จากความหลากหลายดังกล่าว ยังถูกจำกัดอยู่ในวงแคบ เพราะยังขาดซึ่งข้อมูลพื้นฐานด้านต่างๆ เช่น ชนิดพันธุ์ที่พบ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แหล่งที่พบ นิเวศวิทยา และการใช้ประโยชน์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ควรนำมาจัดเก็บและเผยแพร่ ตลอดจทำให้อยู่ในรูปแบที่สืบคันได้ง่าย จึงจะสร้างประโยชน์และพัฒนาต่อยอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งทางด้านวิชาการ ด้านเศรษฐกิจ หรือด้านอื่นๆ ต่อไป
พืชดอกพื้นเมืองในประเทศไทยนั้นถูกจัดแบ่งหมวดหมู่ตามหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์มีอยู่ด้วยกันหลายวงศ์ แต่ละวงศ์มีศักยภาพที่สามารถพัฒนาใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม เช่น ใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ ใช้เป็นตันตอในการติดตา ต่อกิ่ง เป็นต้น โดยพืชดอกพื้นเมืองที่มีความหลากหลายและน่าสนใจของไทย ได้แก่ วงศ์เทียน (Balsaminaceae) มี 80-100 ชนิด วงศ์ชาฤาษี (Gesneriaceae) ประมาณ 150 ชนิด วงศ์ผักบุ้ง (Convolvulaceae) ประมาณ 120 ชนิด และวงศ์เข็ม (Rubiaceae) ประมาณ 600 ชนิด นอกจากนี้ ยังมีพืชดอกอีกหลาย วงศ์ที่มีความหลากหลายไม่มากนักในประทศไทย แต่ได้รับความนิยมนำไปใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะ ในต่างประเทศ เช่น วงศ์ไอริศ (Iridaceae) วงศ์กุหลาบ (Rosaceae) วงศ์วาสุกรี (Violaceae) วงศ์พิมสาย (Primulaceae) วงศ์กุหลาบป่าหรือกุหลาบพันปี (Ericaceae) และวงศ์ไฮเดรนเยีย (Hydrangeaceae) เป็นต้น
ดังนั้นหนังสือเล่มนี้ จึงได้รวบรวมข้อมูลพื้นฐาน รวมทั้งการใช้ประโยชน์ของพืชดอกพื้นเมืองจำนวน 200 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดเป็นพืชที่มีคุณค่า และมีศักยภาพในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและด้านอื่นๆ ต่อไป
ภายในเล่ม บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ
หนังสือเล่มบรรจุเนื้อหาที่เกี่ยวกับความสำคัญ การปลูกเลี้ยงพืชดอกพื้นเมืองไทยในประเทศไทย ข้อมูลทางเศรษฐกิจ ทรัพย์สินชีวะภาพพืชดอกพื้นเมือง
รีวิว (Review) หนังสือ บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ
ภายในเล่มของหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ให้ข้อมูลที่ค่อนข้างดีเลยครับ ตกแต่งสวยงามพอประมาณ รูปประกอบไม่ถึงกับดีมากแต่ก็ไม่ได้แย่อะไร
จุดเด่นของหนังสือ บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ
สิ่งที่โดดเด่นของหนังสือเล่มนี้ คือ ยังไม่พบความโดดเด่นที่แตกต่างจากเล่มอื่นประการใด
จุดด้อยหรือหรือสิ่งที่อยากให้มีในหนังสือ บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพ
จุดด้อยของหนังสือเล่มนี้ คือ ไม่น่าจะมีครับ
สรุป ความคุ้มค่าต่อการอ่าน หรือมีเก็บไว้
โดยสรุปแล้วหนังสือเล่มนี้ได้คะแนนไปจากเว็บไซน์ farmssb.com 7.2 คะแนน
คลิ๊กที่นี่เพื่อดาวน์โหลด!!!
เผยแพร่โดย ทีมงาน www.farmssb.com