ว่านเปราะน้อย หรือ ว่านค้ำคูณ
ชื่อวิทยาศาสตร์
Kacmpferia galanga
ชื่อวงศ์
วงศ์ขิง (Zingiberaceae)
ลักษณะ
เป็นไม้ลงหัวพวกว่านมหากาฬ ใบหนาแทงขึ้นมาจากหัวในดิน ม้วน ๆ คล้ายหูม้า หน้าใบเขียว ข้างใบแดง ใบยาว ๓-๔ นิ้วฟุต ใบมีกลิ่นหอม ลงหัวกลม ๆ คล้ายหัวว่านมหากาฬ หรือหัวกระชาย หัวและใบใช้ในการปรุงเป็นอาหารได้ เป็นไม้ที่ปลูกเลี้ยงไว้ตามบ้าน ไม่ใช่ขึ้นเอง
ประโยชน์ทางยา
ใบแก้เกลื้อนข้าง ดอกแก้โรคตา ต้นแก้ท้องขึ้นท้องเฟ้อ หัวขับเลือดและหนองให้ตก แก้ลมพิษ แก้ผื่นคัน แก้ไอ และแก้บาดแผลสดก็ได้
ถ้าปลูกไว้ในบ้านจะทำให้เกิดเมตตามหานิยมขึ้น ยิ่งว่านนี้เจริญงอกงามดี ก็จะส่งผลให้เจ้าของว่านพลอยเกิดลาภผลเจริญรุ่งเรืองตามไปด้วย ทางภาคอีสานเรียกว่า ว่านค้ำคุณ
การปลูก
ใช้ดินร่วนปนทรายเล็กน้อย เป็นดินปลูก กลบหัวว่านให้มิด แต่ไม่ต้องกดดินให้แน่น รดน้ำพอชุ่ม
ชื่อที่เรียกกัน
ว่านหอม, ว่านตีนดิน, ว่านแผ่นดินเย็น
บทคัดลอกจาก “ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีปลูกว่าน” โดย สมาคมพฤกษชาติแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
รวบรวมและเรียบเรียงโดย นายเลื่อน กัณหะกาญจนะ
เผยแพร่โดย ทีมงาน www.farmssb.com