ว่านหางจรเข้
Aloc indica (Royle) น่าเต๊ก (จีนเรียก) วงศ์เต็งช้างเผือก (Liliaceae)
ลักษณะ
มีใบหนาและยาว โคนใบใหญ่ ปลายใบแหลม มีหนามแหลม ๆ ตามริมครีบใบ ใบมีสีเขียวมีกระสีขาว ภายในเป็นวุ้นและเมือกแผ่ออกรอบโคนต้นพ้นดินเล็กน้อย ก้านจะแทงขึ้นมาจากกลางต้นเป็นก้านแข็ง สูงราว ๒ ฟุต ดอกมีสีแดงอมเหลือง คล้ายดอกซ่อนกลิ่น ตูม ๆ น่าดูแต่นาน ๆ จะได้พบดอกสักครั้ง ตามสวนยางจีนมีปลูกทั่วไป
ประโยชน์
ทางยา แพทย์ตามชนบทใช้ใบผ่า ๒ ตัดเป็นวงกลมเอาปูนแดงทาที่วุ้นแล้วปิดขมับแก้ปวดหัว ทำให้เย็นดูดพิษ ใช้รูดวุ้นจากในใบมาผสมกับสารส้มกินแก้หนองใน แพทย์จีนใช้รากและเหง้าต้มกินแก้หนองในเหมือนกัน
ในทางบำบัดสรรพโรคกล่าวว่า ยาดำซึ่งใช้เป็นยาระบายทำมาได้จากใบของว่านหางจรเข้
ต้นไม้นี้เคยพบมี ๒ ชนิด คือใบเขียว กระขาว กับใบเขียวอมแดงไม่มีกระเลย แต่เมื่อได้พิสูจน์ดูแล้วปรากฎว่าเป็นไม้ต้นเดียวกัน เว้นแต่ปลูกไว้กลางแดดก็จะมีใบเป็นสีเขียวอมแดง แต่พอเอาเข้าปลูกในที่ร่ม จะกลายเป็นใบเขียวกระขาวขึ้นมา
การปลูก
ใช้แยกหน่อที่มีอยู่ในดินออก โดยปลูกกับดินอย่างใดก็ได้
บทคัดลอกจาก “ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีปลูกว่าน” โดย สมาคมพฤกษชาติแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
รวบรวมและเรียบเรียงโดย นายเลื่อน กัณหะกาญจนะ
เผยแพร่โดย ทีมงาน www.farmssb.com