ว่านเจ้าน้อยมหาพรหม หรือ ว่านพระยาค่าง
ชื่อวิทยาศาสตร์
Dieffenbachia saguine (Scholt) var. nobilis (Engler)
ชื่อวงศ์
วงศ์บอน (Araceae)
ลักษณะ
ใบเหมือนใบพาย ก้านเขียวใบเขียว หัวกลม ดอกเป็นพุ่มใหญ่สีแดงสวยงามมาก ต้นมีจุด ๆ ลายสีน้ำตาล
ประโยชน์
ใช่ในทางคงกระพันชาตรี ว่านนี้เป็นไม้สกุลเดียวกับว่านหมื่นปีหรืออ้อยใบ้ ซึ่งยางของหัวว่านหมื่นปีนั้นมีฤทธิ์ ถูกลิ้นเข้าแล้ว ทำให้ลิ้นแข็ง พูดไม่มีเสียงเป็นภาษา นอกจากอ้อ ๆ แอ้ ๆ กลายเป็นใบ้ ฉะนั้นเพื่อความปลอดภัย เพราะเป็นพืชพันธุ์เดียวกัน จึงควรหั่นหัวว่านนี้เป็นชิ้นพอดีคำ แล้วเอาส้มมะขามเปียกแผ่ออกหุ้มห่อหัวว่านที่หั่นไว้นั้นให้มิด เก็บไว้สำหรับกิน เมื่อเวลาจะใช้เป็นคงกระพันชาตรี โดยเอาใส่ลงในลำคอแล้วกลืนลงไปในท้องเลยทีเดียว เหมือนกลืนยาลูกกลอน จึงจะปลอดภัย
การปลูก
ใช้ดินบริสุทธิ์สะอาดจากกลางแจ้ง ที่ไม่มีมูลสัตว์ชนิดใดเจือปน หรือถ้าจะเอาพวกกระเบื้องกระถางดิน หรืออิฐเผาไฟแล้วทุบให้แตกละเอียด เอามาเป็นดินสำหรับปลูกว่านก็ใช้ได้ น้ำที่จะรดต้องเศกด้วยคาถา ”นะโมพุทธายะ” เสีย ๓ จบก่อนเสมอ
บทคัดลอกจาก “ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีปลูกว่าน” โดย สมาคมพฤกษชาติแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
รวบรวมและเรียบเรียงโดย นายเลื่อน กัณหะกาญจนะ
เผยแพร่โดย ทีมงาน www.farmssb.com