ว่านนางมาควดี หรือ ว่านมหาโชค
ว่านนี้เป็นว่านสำคัญและหายากมากอีกว่านหนึ่ง ปลูกเลี้ยงเอาไว้ก็ยาก เข้าใจว่าคงจะนิยมเลี้ยงกันมาตั้งแต่สมัยพระนครศรีอยุธยาเป็นราชธานีอยู่เหมือนกัน แล้วจึงเป็นมรดกตกทอดกันต่อ ๆ มาจนทุกวันนี้
ลักษณะ
ใบเขียวเป็นมัน ก้านเขียว ใบคล้ายใบพลูหรือใบโพธิ์ฤาษี หัวกลมๆ เนื้อในหัวสีขาว ออกดอกในเวลาต้นปี คือในเดือนอ้าย หรือเดือนยี่ ครั้งเดียว ต้นและใบเท่ากัน เงาก็เท่าต้น ดอกสีขาวคล้ายสำลี
ประโยชน์ทางยา
มีคุณเป็นยาบำรุงโลหิตให้งาม เอาหัวฝนกับเหล้าทาฝีต่าง ๆ ดีนัก หายขาดทุกอย่างเลย
ประโยชน์อื่นๆ
ถ้าจะทำเป็นของในทางเสน่ห์ ให้เอาหัวว่านมาแกะเป็นพระภควัมอุ้มท้อง แล้วเอาคาถาต่อไปนี้เศก “สุขะยะ โคขะคันธานัง ศุขะโตสุขทะรัง ปัจจะคำปาลีลัง พิจะกะ พะโรวะสิวัง พิกะพะ โรวัน นะมามินะ คะมะโต” เศกให้ได้ ๑๐๐๐ ครั้ง แล้วเอารูปนั้นตั้งไว้ในที่สูง เป็นเสน่ห์ดีนัก บูชาไว้กับบ้านหรือร้านค้าขายของดีมาก
ถ้าเอาหัวว่านนี้มาแกะเป็นรูปนางกวัก ลงเลขยันต์อย่างว่านนางกวัก ก็ใช้ได้ดีในทางค้าขายเหมือนกัน และถ้าจะทำในทางเสน่ห์ ก็ให้เศกด่วยคาถานี้ “นะเมตตา โมกรุณา พุทธะปราณี ธายินดี ยะเอ็นดู ผู้ใดเห็นหน้ากู เมตตานะเมตตา สีติรพระสีวาจะ มหาเถโร ลาภะลาภัง เวทะนานัง นะเมตตา โอมประสิทธิเม” ให้ครบ ๑๐๘ คาบ ไปที่ใดเอาติดตัวไปด้วย หาคนเกียจชังได้ยากมาก มีแต่ผู้นิยมรักใคร่นับถือ เหมาะสำหรับนักธุรกิจการค้าทั่ว ๆ ไป ควรหามาปลูกทิ้งไว้
อีกตำราหนึ่งกล่าวว่า ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นไป ให้เอาหัวมาแกะเป็นรูปนางกวัก เศกด้วยคาถาดังนี้ “อาระหังลาภี จะลาภานัง ลาภะ สักกาโร ชุติโต สัพเพเทวา สัพพะมะนุสสา ปิยังรักขันตมัง มนุสสาเทวา ทีปูชิโต อิติ” เศกให้ได้ ๑๐๘ คาบ ย่อมใช้เป็นเสน่ห์ทั้งแก่มนุษย์และเทวดาทั้งปวง
การปลูก
ใช้ดินสอาดกลางแจ้ง เอามาปลูกในวันอันเป็นมงคล อย่ากลบดินให้มิดหัวว่าน เหลือหัวโผล่ไว้นิดหน่อย อย่ากดดินให้แน่นหัวว่านนัก เวลารดน้ำเศกด้วย “นะโมพุทธายะ” ๓ จบ แล้วจึงรดพอดินเปียกทั่ว
บทคัดลอกจาก “ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีปลูกว่าน” โดย สมาคมพฤกษชาติแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
รวบรวมและเรียบเรียงโดย นายเลื่อน กัณหะกาญจนะ
ว่านนางมาควดี หรือ ว่านมหาโชค อ้างอิงตำราเก่า
ว่านนี้มีกล่าวในตำราว่านเก่าหลายเล่มด้วยกัน คือ
- “ลักษณะว่าน” โดย นายชิต วัฒนะ หน้า ๕-๖ เรียก ว่านนางมาคะวดี
- “ตำหรับ กระบิลว่าน” โดย หลวงประพัฒสรรพากร หน้า ๒๔
- “คู่มือนักเล่นว่าน” โดย ล.มหาจันทร์ หน้า ๕๙-๖๐
- “ตำราสรรพคุณยาไทย ว่าด้วยลักษณะกบิลว่าน” โดย นายไพทูรย์ ศรีเพ็ญ หน้า ๘๐ เรียก ว่านนางมาควะลี
- “ตำราดูว่านและพระเครื่องพระบรมธาตุ” โดย ชัยมงคล อุดมทรัพย์ หน้า ๓๐
- “ตำรากบิลว่าน และต้นยาวิเศษนานาชนิด” โดย พยอม วิไลรัตน์ หน้า ๕๗-๕๘
- “ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน” โดย อุตะมะ สิริจิตโต หน้า ๕๔-๕๕
- “ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์” โดย อาจารย์ชั้น หาวิธี หน้า ๑๗ เรียก มหาโชค
- “ตำราคุณลักษณะว่าน และ วิธีปลูกว่าน” โดย นายเลื่อน กัณหะกาญจนะ หน้า ๑๘๗-๑๘๘
- “ตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์” โดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น หน้า ๓
- “กบิลว่าน ๑๐๘” โดย สมาน คัมภีร์ และ ทัศนา ทัศนมิตร หน้า ๑๙ เรียก มหาโชค
ตามตำรากล่าวถึงลักษณะโดยรวมคือ ว่านนี้เป็นว่านสำคัญและหายากมากอีกว่านหนึ่ง ปลูกเลี้ยงเอาไว้ก็ยาก เข้าใจว่าคงจะนิยมเลี้ยงกันมาตั้งแต่สมัยพระนครศรีอยุธยาเป็นราชธานีอยู่เหมือนกัน แล้วจึงเป็นมรดกตกทอดกันต่อ ๆ มาจนทุกวันนี้
ลักษณะ
ใบเขียวเป็นมัน ก้านเขียว ใบคล้ายใบพลูหรือใบโพธิ์ฤาษี หัวกลมๆ เนื้อในหัวสีขาว ออกดอกในเวลาต้นปี คือในเดือนอ้าย หรือเดือนยี่ ครั้งเดียว ต้นและใบเท่ากัน เงาก็เท่าต้น[แปลว่าก้านใบไม่ยาวมากนัก] ดอกสีขาวคล้ายสำลี
ประโยชน์ทางยา
มีคุณเป็นยาบำรุงโลหิตให้งาม เอาหัวฝนกับเหล้าทาฝีต่าง ๆ ดีนัก หายขาดทุกอย่างเลย
ประโยชน์ทางความเชื่อ
ถ้าจะทำเป็นของในทางเสน่ห์ ให้เอาหัวว่านมาแกะเป็นพระภควัมอุ้มท้อง แล้วเอาคาถาต่อไปนี้เศก “สุขะยะ โคขะคันธานัง ศุขะโตสุขะทะรัง ปัจจะคำปาลีลัง พิจะกะ พะโรวะสิวัง พิกะพะ โรวัน นะมามินะ คะมะโต” เศกให้ได้ ๑,๐๐๐ ครั้ง แล้วเอารูปนั้นตั้งไว้ในที่สูง เป็นเสน่ห์ดีนัก บูชาไว้กับบ้านหรือร้านค้าขายของดีมาก
ถ้าเอาหัวว่านนี้มาแกะเป็นรูปนางกวัก ลงเลขยันต์อย่างว่านนางกวัก ก็ใช้ได้ดีในทางค้าขายเหมือนกัน และถ้าจะทำในทางเสน่ห์ ก็ให้เศกด้วยคาถานี้ “นะเมตตา โมกรุณา พุทธะปราณี ธายินดี ยะเอ็นดู ผู้ใดเห็นหน้ากู เมตตานะเมตตา สีติพระสีวาจะ มหาเถโร ลาภะลาภัง เวทะนานัง นะเมตตา โอมประสิทธิเม” ให้ครบ ๑๐๘ คาบ ไปที่ใดเอาติดตัวไปด้วย หาคนเกียจชังได้ยากมาก มีแต่ผู้นิยมรักใคร่นับถือ เหมาะสำหรับนักธุรกิจการค้าทั่ว ๆ ไป ควรหามาปลูกทิ้งไว้
อีกตำราหนึ่งกล่าวว่า ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นไป ให้เอาหัวมาแกะเป็นรูปนางกวัก เศกด้วยคาถาดังนี้ “อาระหังลาภี จะลาภานัง ลาภะ สักกาโร ชุติโต สัพเพเทวา สัพพะมะนุสสา ปิยังรักขันตะมัง มะนุสสาเทวา ทีปูชิโต อิติ” เศกให้ได้ ๑๐๘ คาบ ย่อมใช้เป็นเสน่ห์ทั้งแก่มนุษย์และเทวดาทั้งปวง
การปลูก
ใช้ดินสะอาดกลางแจ้ง เอามาปลูกในวันอันเป็นมงคล อย่ากลบดินให้มิดหัวว่าน เหลือหัวโผล่ไว้นิดหน่อย อย่ากดดินให้แน่นหัวว่านนัก เวลารดน้ำเศกด้วย “นะโมพุทธายะ” ๓ จบ แล้วจึงรดพอดินเปียกทั่ว
ว่านนางมาควดี ชื่อเดิมของว่านมหาโชค
ชื่อว่านมหาโชคนี้เป็นชื่อใหม่ความจริงๆแล้วอยากให้นักเลงว่านเรียกชื่อเดิมของเขาคือ “นางมาควดี” จะดีกว่า ว่านนี้ตำราของบัวปากช่อง (สายป้าบุญช่วย เซียนว่านยุคเก่า ซึ่งเป็น อาจารย์ของ อาจารย์นพคุณ คุมา) กล่าวถึงว่ามีชนิดที่ดอกออก ๕ กลีบด้วย เนื่องจากว่านชนิดนี้ออกดอกยากมาก และดอกก็ไม่สมบูรณ์จึงทำให้ในบางครั้งดอกจะติดๆกัน หรือกลีบหาย มองดูเป็น ๕ กลีบได้
มหาโชคปลอม กับ ว่านมหาโชคต้นแท้
ในปัจจุบัน (2564 เป็นต้นมา) พบว่ามีการนำไม้ผสมใหม่มาขายในนามมหาโชค ซึ่งลักษณะปนเปไปหมดคือใบคล้ายกวักนางพญาใหญ่ผสมมหาโชค ออกดอกง่ายมาก ดอกใหญ่ออกไปทางกวักนางพญาใหญ่ แตกหน่อง่ายโตเร็ว พอโดนท้วงติงมากขึ้นว่าไม่ใช่ต้นเดิมที่เล่นกัน ก็แก้เก้อในชื่อ “มหาโชคใหญ่” เอากันเข้าไป….
ซึ่งในมุมมองของเซียนว่านยุคเก่าที่ยึดถือขนบเดิม จะเรียกว่า “ว่านปลอม” ครับ มิติความสวย ผมก็ว่าสวยนะ…แต่ในมิติ “ว่าน” นี่เป็นอะไรที่น่ากลัวมาก….สุดท้ายเมื่อนานเข้า ว่านที่เป็นพืชชั้นพิเศษที่คัดสรรค์แล้ว…ก็จะลดค่าในสายตาหลายๆคนที่แยกแยะไม่ได้…ก็กลายเป็นเพียงไม้ประดับธรรมดาๆ… ถ้ามันเป็นอย่างนั้นจริง ก็สมควรเลิกใช้คำว่า “ว่าน” นำหน้าพืชในตำนานเหล่านั้นกันดีไหม…? ประวัติศาสตร์ความเชื่อของชาติเรื่อง “ว่าน” ที่เป็นศาสตร์บริสุทธิ์นั้น มันคงหายไปในรุ่นๆเราๆนี่แหละ หากเราไม่ทักท้วงกันบ้าง ไม่ฟังกันบ้าง หรือปล่อยให้ยอมรับกันในมิติพ่อค้า-แม่ค้าตลอด โดยไม่มีหลักยึดด้านวิชาการ….
อ้างอิง
เผยแพร่โดย ทีมงาน www.farmssb.com