ว่านมหากาฬ
Gymera pseudo china (DC) วงศ์ดาวเรือง (Compositae)
ว่านนี้เป็นว่านคู่กับว่านมหาปราบ ถ้าผู้ใดหามาเลี้ยงไว้ได้ทั้ง ๒ อย่างแล้ว ก็เท่ากับได้สิ่งอันมีค่าอย่างยิ่งมาไว้ เพราะสามารถป้องกันภัยอันตรายทั้งปวงได้
ลักษณะ
เป็นไม้ลงหัว ใบคล้ายใบผักกาด งอกแผ่อยู่บนดิน ใบหนาแข็งมีเว้าเป็นหยัก ๆ คล้ายใบฝิ่น ถ้าออกใบใหม่ ๆ มักเป็นสีม่วงแก่ ตามแขนงของใบเป็นสีขาว ก้านใบแก่เข้าจะเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีขาว เหมือนใบลงหัวในดิน เนื้อในหัวเป็นสีขาว ดอกสีเหลืองเป็นฝอยคล้ายดอกดาวเรืองแต่ดอกเล็กมาก ชูก้านสูงขึ้นมาจากดินราว ๑ ฟุต ไม่มิดอกอยู่บนดอยเป็นกระจุก น่าดูดีเหมือนกัน ว่านนี้มีหลายชนิด คือ
๑. สีเขียวล้วน
๒. สีแดงเรื่อ ๆ
๓. สีแดงเข้ม
มีปลูกกันตามบ้านหมอแผนโบราณและตามสวนยาจีนทุกแห่ง
ประโยชน์
แพทย์ตามชนบทใช้ใบสด ๆ โขลกผสมกับสุรา ปิดพอกฝีหรือหัวลำมะลอก ทำให้เย็นถอนพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน หัวว่านกินดับพิษกาฬ พิษร้อน แก้ไข้พิษเชื่อมสึกกระสับกระส่าย แก้พิษอักเสบ
การปลูก
ปลูกไม่สู้ยาก ใช้ดินร่วน ๆ หรือปนทรายบ้าง เป็นดินปลูกก็ขึ้นงาม อย่าให้น้ำแฉะ โดยปกติเป็นว่านชอบให้ทรมาน..น้ำ หากแห้ง ๆ อยู่ก็จะงอกงามดี
ชื่อที่เรียกกัน
ว่านมหากาฬ (กรุงเทพฯ) ผักกาดกบ (เพชรบุรี) หนาดแห้ง (โคราช) คำโคก (ขอนแก่น เลย) ผักกาดนกเขา (สุราษฎร์) จีนเรียก อังตังปึง หรืออังตังปี
บทคัดลอกจาก “ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีปลูกว่าน” โดย สมาคมพฤกษชาติแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
รวบรวมและเรียบเรียงโดย นายเลื่อน กัณหะกาญจนะ
เผยแพร่โดย ทีมงาน www.farmssb.com