ว่านนางคำ
ชื่อวิทยาศาสตร์
Curcuma aronatiea (Salisb)
ชื่อวงศ์
วงศ์ขิง (Zingiberaceae)
ในปัจจุบันว่านชื่อนี้มีอยู่ ๓ ชนิด คือ
ลักษณะ
ตำรา ๑ ต้นแดง ก้านแดง หรือครีบแดง หัวมีเนื้อเป็นสีเหลืองดังหัวขมิ้นเน่า ใบเรียวงามสีเขียว
ตำรา ๒ ต้นเขียวใบเขียว เนื้อในหัวมีสีขาว
ตำรา ๓ ชนิดต้นเขียว กลางใบแดง เนื้อในหัวมีสีเหลืองเข้ม มีกลิ่นหอม มีรสฝาด ใบโต ขนาดใบว่านคันทมาลา มีปลูกกันทั่วไป เป็นว่านนางคำอย่างธรรมดาที่ใช้ผสมยาทาแก้เคล็ดบวมหรือใช้ย้อมผ้า
ประโยชน์
ตำรา ๑ ใช้ปลูกไว้ประจำบ้านเป็นเสน่ห์แก่บ้านยิ่งนัก ทางยามีรสร้อน มีคุณกระทุ้งพิษต่าง ๆ และแก้ฟกบวมตามเนื้อตามตัวในร่างกาย แก้พิษว่านร้ายต่าง ๆ ได้อีกด้วย
ตำรา ๒ ใช้แก้อิทธิฤทธิ์ว่านทั้งปวงได้ เพราะเป็นพญาว่าน
ตำรา ๓ ใช้หัวฝนทาแก้เม็ดผื่นคันและโรคผิวหนังชนิด Prurigo กินเป็นยาขับลมในลำไส้ และแก้ปวดท้อง ใช้ตำพอกแก้ฟกช้ำและข้อเคล็ด รากใช้เป็นยาขับเสมหะ และเป็นยาสมาน, แก้โรคลงท้องหรือท้องร่วง, แก้โรคหนองในเรื้อรัง, ผลของการแยกธาตุว่านนางคำมีดังนี้ น้ำหอมเรซิน ๔.๔๗ น้ำตาล ๑.๒๑ ยางกรด ๑๐.๑๐ แป้ง ๑๗.๗๕ ใยไม้ ๒๕.๔๐ เถ้า ๗.๕๗ ความชื้น ๙.๗๖ กับพวก Albuminious ๔๒.๙
การปลูก
ใช้หัวว่านปลูกทั้ง ๓ ชนิด โดยใช้ดินร่วน ๆ หรือดินร่วนปนทรายบ้างเป็นดินปลูก เอาหัวว่านมากลบด้วยดินพอมิดหัวว่าน หรือพอหัวว่านโผล่พ้นดินนิดหน่อย เอาน้ำรดให้ดินเปียกทั่ว
บทคัดลอกจาก “ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีปลูกว่าน” โดย สมาคมพฤกษชาติแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
รวบรวมและเรียบเรียงโดย นายเลื่อน กัณหะกาญจนะ
เผยแพร่โดย ทีมงาน www.farmssb.com