เพชรกลับตัวผู้ Boesenbergia spp.
ลักษณะ1
ชื่อวิทย์ยาศาสตร์ Boesenbergia spp. (ยังไม่พบการระบุชื่อ สปีชีส์ที่แน่นอน) ทั่วไปคล้ายเพชรกลับมาก ลักษณะที่แตกต่างออกไปคือ หัวจะเล็กกว่า และใต้ใบแดงจัด ทั้งหลังใบพบเส้นใบแดงชัดเจน แม้ตอนโตเต็มที่ก็ยังเห็นเส้นกลางใบแดงอยู่ ต้นนี้สรรพคุณทางยาสูงกว่าเพชรกลับ พบใช้มากทางแถบอีสาน และเพชรกลับตัวผู้นี้เป็นที่เข้าใจผิดกันบ่อยว่าเป็น “เพชรกลับแดง” เนื่องจากสีแดงของใบที่ชัดเจน ซึ่งเป็นเรื่องเข้าใจคลาดเคลื่อนครับ
สรรพคุณ
ว่านนี้มีอานุภาพใช้เป็นว่านอยู่ยงคงกระพันชาตรี และเป็นว่านป้องกันจากถูกคุณไสย- ศาสตร์ต่าง ๆ ในเมื่อมีว่านนี้ไว้ในบ้านเรือน หรือมีหัวว่านประจำติดตัวอยู่เสมอ ว่ากันว่าถ้าไปป่าหรือในการไปเที่ยวผจญภัยสำคัญ ๆ ถ้าแม้มีหัวว่านนี้ติดตัวไปด้วย ถึงแม้จะต้องผ่านถิ่นทุรกันดารอันเต็มไปด้วยการเจ็บไข้ร้ายแรงอย่างใด ก็จะต้องกลับถึงบ้านโดยสวัสดิภาพจนได้เสมอ ไม่มีการเสียตัวตายนอกบ้านเป็นอันขาด2
การปลูก
ว่านนี้ชอบร่มรำไรกึ่งๆไปทางแดดถ้าได้แดดดีจะให้หัวมาก แต่ถ้าเจอแดดแรงไปหรือแล้งไปหัวจะฝ่อได้ง่าย ให้เศกน้ำรดด้วย “นะโมพุทธายะ” เวลาปลูกให้เอาส่วนของรากขึ้นชี้ฟ้าเพราะว่านนี้รากจะชี้ฟ้า หน่อหรือต้นจะงอกไปในทางเดียวกับราก
สรรพคุณ การใช้งาน
การใช้ในทางวิทยาคม ก่อนจะนำหัวว่านไปใช้ ให้ตั้งนะโม 3 จบ ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยและบริกรรมด้วย คาถาอิติปิโสถอยหลัง ดังนี้ ” ติวาคะ ภะโธ พุทนังสานุสมะวะ เทถาสัตถิระสา มะธัมสะริปุ โรตะนุต อทูวิกะโล โตคุสะ โนปันสัมพะระจะชาวิช โธพุทธสัมมาสัมหังระอะ วาคะภะ โสปิติอิ ” เสกน้ำรดด้วย นะโมพุทธายะ หรืออิติปิโสถอยหลังเป็นประจำ
อ้างอิง
- https://farmssb.com/5-phet-klab/. ๕ เพชรกลับ: ว่านที่เรียกว่า เพชรกลับทั้ง ๕ ต้น.
- https://farmssb.com/product/phet-klab/. ว่านเพชรกลับ.