ว่านพระยาหัวเดียว
ลักษณะ
ใบเหมือนใบกุยช่าย แต่เล็กกว่าค่อนข้างกลม หัวเหมือนหัวแห้วจีน ปลูกไว้กี่ปี ๆ ก็ไม่มีหน่อหรือแขนงงอกขยายพันธุ์อีกเลย ใช้เมล็ดที่อยู่ปลายใบมาเพาะจึงจะเกิดเป็นต้นใหม่ขึ้นได้
ประโยชน์
ว่านนี้หัวมีคุณในทางเป็นคงกระพันชาตรี ทนสาตราวุธทั้งปวง ยิ่งได้กินว่านนี้เข้าไปถึง ๓ หัวแล้วเวลาตายไป เอาศพเผาไฟก็จะไม่ไหม้ ถ้าเอาหัวฝนทามือและเท้าเข้าชกต่อยกับผู้ใด ผู้ถูกชกถูกแตะ จะเจ็บปวดมากนัก เมื่อกินว่านนี้เข้าไปแล้วสามารถเดินในหนาม นอนบนตะปู และคงทนต่อของมีคมทุกอย่างเลย
การปลูก
ต้องใช้ดินกลางแจ้งที่สอาดปราศจากมูลสัตว์ต่าง ๆ เมื่อเอาหัวว่านมาวางจึงเอาดินที่ได้เตรียมไว้กลบพอให้มิดหัวว่าน จึงเอาน้ำที่เศกด้วย “นะโมพุทธายะ” ๓ จบ แล้วรดพอชุ่ม เท่านั้น
บทคัดลอกจาก “ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีปลูกว่าน” โดย สมาคมพฤกษชาติแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
รวบรวมและเรียบเรียงโดย นายเลื่อน กัณหะกาญจนะ
เผยแพร่โดย ทีมงาน www.farmssb.com
ว่านที่ปัจจุบันต้นแท้หายากมาก
เนื่องจากปัจจุบันมีการนิยมผสมพันธ์พืชกลุ่มบัวดินกันมาก ทำให้คุณลักษณะของว่านหัวเดียวที่ออกมาผิดเพี้ยน…คือแตกหน่อได้ ซึ่งต้นแท้เก่าจะต้องมีหัวเดียวเท่านั้นไม่แตกหน่อ ถ้าแตกหน่อทางว่านเรียก “ว่านปลอม” ต้นนี้คือว่านเก่าแก่ปลูกมาอายุกว่า 60 ปี ปลูกโดยแยกเอาไว้ไม่ให้ผสมกับว่านกลุ่มบัวดินชนิดอื่นๆ