ว่านพระยางู
ชื่อวิทยาศาสตร์
Sanseviera cylindrica
ชื่อภาษาอังกฤษ
Bowstring (Hemp)
ชื่อวงศ์
วงศ์เต็งช้างเผือก (Liliaceae)
ลักษณะ
ต้นเหมือนต้นผักโหม ใบเหมือนใบชุมเห็ด ยางมีสีเหลือง ดอกคล้ายดอกพลับพลึงขาว ดอกเดียวมี ๖ กลีบ ขอบของดอกชั้นในมีก้านเกษรเป็นงวง ขนาด ๑ นิ้ว ระหว่างกลีบทั้ง ๖ และที่แกนกลางดอกมีอีก ๑ ก้านยาวกว่าเพื่อน โคนใบซ้อนกันเหมือนใบตะไคร้
ประโยชน์
เวลาจะไปเอาว่านนี้ให้สระผมให้สอาดและอาบน้ำชำระกายให้เรียบร้อยก่อน และไปเอาในวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ เมื่อได้มาแล้วให้เอายางมากวนกับปรอททำให้ปรอทตายเช่นเดียวกับว่านพระยากา
ประโยชน์ทางยา
ชาวมลายูใช้ใบอังไฟแล้วบีบเอาน้ำมาหยอดหู แก้ปวดในหู ชาวซูลูในแอฟริกาก็ใช้อย่างนี้เหมือนกัน ในปีรัดใช้ใบตำแล้วอาบแก้หิตหรือผื่นคัน ในอินโดนีเซีย ใช้น้ำคั้นจากใบทาผมเป็นยาบำรุงรากผม ในแอฟริกายังใช้อมน้ำอุ่น ๆ ที่ต้มใบไม้นี้แก้ปวดฟัน น้ำคั้นจากรากเป็นยาแก้เบื่อพยาธิ์ และแก้ริดสีดวงงอกอีกด้วย ใยจากใบไม้นี้ ใช้ทำเชือกเหนียวดีมาก
การปลูก
ใช้หัวปลูกโดยเอาดินร่วน ๆ กลบหัวพอมิด แล้วเอาน้ำเศกด้วย “นะโมพุทธายะ” ๓ จบ รดพอดินเปียกทั่วเท่านั้น
บทคัดลอกจาก “ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีปลูกว่าน” โดย สมาคมพฤกษชาติแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
รวบรวมและเรียบเรียงโดย นายเลื่อน กัณหะกาญจนะ
เผยแพร่โดย ทีมงาน www.farmssb.com