พรรณไม้ ในศูนย์ศึกษาธรรมชาติ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ประวัติ/จุดมุ่งหมายของหนังสือ พรรณไม้ ในศูนย์ศึกษาธรรมชาติ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
มหาวิทยาลัยมหาสารคามพัฒนาการมาจากวิทยาลัยวิชาการศึกษา ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม และได้รับการจัดตั้งเป็น “มหาวิทยาลัยมหาสารคาม” เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2537 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 111 ตอนที่ 54 ก นับเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งที่ 22 ของประเทศไทย ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีคณะและหน่วยงานที่จัดการเรียนการสอนจำนวน 21 หน่วยงานด้วย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยี คณะการบัญชีและศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ คณะวิทยาการสารสนเทศ คณะสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง บัณฑิตวิทยาลัย คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะแพทยศาสตร์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์และสัตวศาสตร์ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ สถาบันวิจัยขเวช (สาขาวิชาความหลากหลายทางชีวภาพ) และคณะวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีการพัฒนา ได้มีการขยายพื้นที่มายัง “ป่าโคกหนองไผ่” ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 1,300 ไร่ และไต้ดำเนินการปลูกสร้างอาคาร สำนักงาน เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริหารของมหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2539 เป็นต้นมา
เพื่อให้การพัฒนาของมหาวิทยาลัยมหาสารคามสอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย (2555-2559) ด้านการเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้และบริการวิชาการ และการพัฒนาสู่มหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) จึงมีนโยบายที่สำคัญต่อการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวโดยเฉพาะการรักษาพื้นที่ป่าดั้งเดิมให้เป็นพื้นที่สีเขียวของมหาวิทยาลัยและชุมชน เพื่อเป็นศูนย์ศึกษาธรรมชาติ มหาวิทยาลัยมหาสารคามรถใช้เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติศึกษาในป่าโคก (ป่าเต็งรัง) จากการดำเนินโครงการนี้ มหาวิทยาลัยมหาสารคามและเรียบเรียงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพรรณไม้ โดยจัดพิมพ์เป็นหนังสือ เรื่อง “พรรณไม้ในศูนย์ศึกษาธรรมชาติ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม” เพื่อเผยแพร่ข้อมูลความรู้ เสริมสร้างความเข้าใจพรรณ์ไม้ และใช้ประกอบการเรียนรู้ในเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง แก่นักเรียน นิสิต นักศึกษาและผู้สนใจแบบสหวิทยาการของชุมชน อีกทั้งเป็นแหล่งสนับสนุนการเรียนการสอน การส่งเสริมการผลิตบัณฑิตที่พึ่งประสงค์ของมหาวิทยาลัย ตลอดจนเป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบธรรมชาติศึกษา
ภายในเล่ม พรรณไม้ ในศูนย์ศึกษาธรรมชาติ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ภายในหนังสือเล่มนี้ประกอบไปด้วยชื่อทั่วไปของพืช และข้อมูลทางพฤกษศาสตร์ต่างๆ การใช้ประโยชน์ส่วนต่างๆของพืช
รีวิว (Review) พรรณไม้ ในศูนย์ศึกษาธรรมชาติ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
หนังสือเล่มนี้ทำออกมาได้มาตรฐานดีครับ เนื่องจากให้ข้อมูลพฤกษศาสตร์ได้ครบถ้วนดีพอสมควรเลย รูปก็สวยดีครับ
จุดเด่นของหนังสือ พรรณไม้ ในศูนย์ศึกษาธรรมชาติ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สิ่งที่โดดเด่นของหนังสือเล่มนี้ คือ รูปวาดที่สวยงาม
จุดด้อยหรือหรือสิ่งที่อยากให้มีในหนังสือ พรรณไม้ ในศูนย์ศึกษาธรรมชาติ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
จุดด้อยที่พบเห็นคงจะเป็นการรูปถ่ายของพืชครับ (แต่ภาพวาดสวยดีมากๆครับ)
สรุป ความคุ้มค่าต่อการอ่าน หรือมีเก็บไว้
โดยสรุปแล้วหนังสือเล่มนี้ได้คะแนนไปจากเว็บไซน์ farmssb.com ไป 7.8 คะแนน
คลิ๊กที่นี่เพื่อดาวน์โหลด!!!
เผยแพร่โดย ทีมงาน www.farmssb.com