ว่านพระยาแร้งคอดำหรือว่านพระยาแร้ง หรือว่านคอแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์
Crinum latifolium (Linn)
ชื่อวงศ์
วงศ์ (Amaryllidaceae)
ลักษณะ
ต้นและใบดังพลับพลึง หัวโตขนาดหอมฝรั่งอย่างใหญ่ ๆ ที่โคนใบมีสีแดงรอบคอต้นเหมือนคอแร้งแต่เล็กกว่า ถ้าดึงกาบออกจะมีใยเหมือนใยบัว ถ้าไม่มีใยไม่ใช่ว่านช้างคอดำ
แบ่งเป็น ๒ ชนิด คือชนิดตัวผู้และชนิดตัวเมีย
- ตัวผู้จะมีสีแดงที่คอใบและก้านประมาณ ๒ นิ้ว
- ตัวเมียจะมีสีขาวที่คอและก้าน
ประโยชน์
มีคุณในทางแก้มดลูกหย่อน ใช้เฉพาะแก้โรคมดลูกของสตรีดีนัก ดองกับสุรากินเป็นยาชักมดลูก และใช้ในทางคงกระพันชาตรีด้วยก็ได้ โดยจะใช้หัวว่านถือติดตัวไป หรือจะกินก็ได้แต่เหนียวชั่วเบา ก่อนกินเศกด้วย “นะมะพะทะ นะโมพุทธายะ” ๓ ครั้งก่อน หรือ ๗ ครั้งทีเดียวก็ได้
ประโยชน์ทางยา
นอกจากแก้ทางมดลูกแล้ว แก้พวกริดสีดวงทวารได้อีกด้วย
การปลูก
ใช้กระถางใบใหญ่หน่อยปลูก โดยเอาดินร่วน ๆ ใส่ก้นกระถางเอาหัวว่านมาวาง แล้วเอาดินร่วนปนทรายใส่ข้างบน กลบพอมิดหัวว่าน จึงเอาน้ำที่เศกด้วย “นะโมพุทธายะ” ลงรดพอชุ่มทั่ว
บทคัดลอกจาก “ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีปลูกว่าน” โดย สมาคมพฤกษชาติแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
รวบรวมและเรียบเรียงโดย นายเลื่อน กัณหะกาญจนะ
เผยแพร่โดย ทีมงาน www.farmssb.com