ว่านตาลปัตรฤาษี
ชื่อวิทยาศาสตร์
Nopalea sp.
ชื่อวงศ์
วงศ์กระบองเพ็ชร์ (Cactaceae)
ชื่อที่เรียกกัน
ตาลปัตรฤาษี เขื่องหูช้าง
ลักษณะ
ใบคล้ายใบคูณใหญ่ รูปหัวใจรี ๆ คล้ายใบพลวง เมื่อมีดอกแล้วใบจะแห้ง ดอกเขียว ๆ มีขาว ๆ แซม หัวใหญ่
ประโยชน์
ใช้หัวสำหรับกินโดยเศกด้วย “นะโมพุทธายะ” ๗ ครั้ง แล้วจึงกิน ทำให้อยู่คงกระพันชาตรี ถ้าเอาหัวว่านติดตัวไปด้วยจะทำให้แคล้วคลาดปลอดภัยอันตรายดีนัก
การปลูก
ใช้หัวปลูกด้วยดินร่วน ๆ หรือดินปนทรายปลูก รดน้ำต้องเศกด้วย “นะโมพุทธายะ” ๓ จบก่อนจึงรดพอชุ่มดินเท่านั้น
อีกตำราหนึ่งว่า
ใบและต้นมีลักษณะคล้ายปรงใหญ่ มีลูกที่โคนต้น ออกใบระหว่างกาบ แต่ที่ลูกมีเป็นเม็ดทุก ๆ เม็ด มีกาบหุ้ม กาบนั้นคล้ายตาลปัตร
ชื่อวิทยาศาสตร์
Leea macrophylla (Roxb)
ชื่อวงศ์
วงศ์กระตังใบ (Leeacae)
ชื่อที่เรียกกัน
ตาลปัตรฤาษี, เสือนั่งร่ม, ผึ่งหูช้าง (ราชบุรี), เขื่องหูช้าง (พายัพ), ตองสาก (ตาก)
ประโยชน์
แก้พิษฝีและเกลื้อนฝีแรกเป็นมิให้ขึ้นได้ ถ้าเผาเม็ดและกาบให้ไหม้เป็นถ่านหรือเถ้าแล้ว เอามาละลายในน้ำมัน ทาแก้พุพองต่าง ๆ ดีนัก
การปลูก
ใช้ดินปนทรายปลูก โดยเอาลูกแก่ ๆ ที่โคนต้นปลูก โดยเอาดินกลบเม็ดแล้วเอาน้ำรดพอเปียกทั่ว อย่ารดจนโชกโชน ต้องรอจนเม็ดแตกออกรากและผลิลำต้น แล้วจึงค่อยรดน้ำให้มากหน่อยก็ได้
บทคัดลอกจาก “ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีปลูกว่าน” โดย สมาคมพฤกษชาติแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
รวบรวมและเรียบเรียงโดย นายเลื่อน กัณหะกาญจนะ
เผยแพร่โดย ทีมงาน www.farmssb.com