ว่านม้า
ว่านนี้นิยมเล่นกันมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัยยังเป็นราชธานี ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา ก็ยังคงนิยมเล่นกันเป็นคราว ๆ เช่นในสมัยขุนหลวงสรศักดิ์ หากแต่ว่าหวงแหน ไม่ยอมแยกให้ผู้อื่นนำไปเลี้ยงต่อ จึงทำให้หายาก
ในปัจจุบันว่านชื่อนี้มีอยู่ ๓ ชนิด คือ
(๑) ลักษณะ
หัวคล้ายหัวม้า ก้านเขียวเล็ก มีใบยาวออกไปคล้ายกับหางม้า ใบเขียวรูป
เหมือนใบพาย หัวมีสีดำ ถ้าหัวงามจะแตกออกเป็น ๒-๓ หน่อ
ประโยชน์
ถือเอาหัวว่านติดตัวไปเดินทางไกลไม่เมื่อยล้า ถ้าจะแข่งม้า ใช้ว่านนี้ฝนละลายน้ำทาขาม้าจะทำให้ม้าวิ่งได้เร็วดี เวลาใช้เศกด้วย “นะโมพุทธายะ” ๓ จบ
ประโยชน์ทางยา ใช้กินหรือฝนทาแก้ปวดเมื่อย เคล็ดยอกได้ดีมาก
(๒) ลักษณะ
ใบเขียวต้นเขียว เนื้อในหัวเป็นสีขาว ก้านเล็ก สันก้านใบดังใบพาย
ประโยชน์
ใช้อมและทาแข้งขา แล้วเดินทางไกลเดินได้เร็ว และไม่เหนื่อย
(๓) ลักษณะ
ต้นดังต้นขมิ้น ลำต้นแดง กลางใบแดง หลังใบก็แดง เนื้อในหัวเป็นสีเหลือง
เป็นหัวขนาดกลาง หัวเป็นขอคล้ายหัวม้า ใบเหมือนใบยางมีสีแดง มีรสเผ็ด ๆ ที่หัว ถ้างามมากจะแตกออก ๒-๓ หน่อทีเดียว
ประโยชน์
มีคุณเกี่ยวกับการออกกำลังกาย ถ้าใช้หัวว่านนี้อมหรือฝนทาแข้งขา แล้วเดิน
ทางไกลได้เร็ว ไม่เหนื่อย วิ่งได้เร็วไม่มีใครเทียมและทนได้ ยิ่งกินหัวเข้าไปด้วยจะทำให้เกิดมีพละกำลังมาก ทำงานทั้งวันไม่มีความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าเลย
ถ้าเอาหัวฝนทาแก้ปวดเมื่อยเคล็ดยอกได้ดีอีกด้วย
ยันต์ตัวเลขสำหรับลงฝ่ามือไว้จับว่านม้า ในขณะไปขุดเอามา มีดังนี้
การปลูก
ใช้ดินร่วนปนทรายเป็นดินปลูก โดยเอากระถางที่ล้างสะอาดมา เอาดินใส่ครึ่งกระถาง แล้วเอาหัวว่านวาง เอาดินกลบอีกทีหนึ่ง อย่ากลบให้มิดมาก พอมีหัวโผล่พ้นดินนิดหน่อย น้ำที่รดเศกด้วย “นะโมพุทธายะ” ๓ จบ แล้วจึงรดพอเปียกดินทั่วเท่านั้น
บทคัดลอกจาก “ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีปลูกว่าน” โดย สมาคมพฤกษชาติแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
รวบรวมและเรียบเรียงโดย นายเลื่อน กัณหะกาญจนะ
เผยแพร่โดย ทีมงาน www.farmssb.com