ว่านพระยานกยูง
ชื่อวิทยาศาสตร์
Helminthostachys zeylanica (Hook. f.)
ชื่อวงศ์
วงศ์ตีนมือนกเขา (Ophioglossaceae)
ชื่อที่เรียกกัน
ผักตีนกวาง, ผักตีนฮุ้ง, กูดซัง, กูดจ้อง, (พายัพ), ผักนกยูง (โคราช), ตีนนกยูง (ใต้)
ลักษณะ
เป็นเฟินชนิดหนึ่งขึ้นจากดิน มีขึ้นทั่วไปตามป่าโปร่งที่ถูกถางทำไร่ ต้นเนื้ออ่อนตั้งตรงสูง ๘ ถึง ๑๒ นิ้ว เง่าเรียวนอน ใบเดี่ยวอยู่ปลายลำ ต้นใหญ่กว้างและแฉกลึกเป็นหลายแฉก ขนาดเท่าฝ่ามือหรือใหญ่กว่านั้น ดอกเขียว ๆ เหลือง ๆ เป็นช่อเรียงยาวราว ๓ ถึง ๘ นิ้วอยู่ปลายลำต้น
ประโยชน์
เง่าเป็นยาแก้พิษงู ทางมลายูใช้เคี้ยวกับหมากเป็นยาบำรุง และใช้เป็นยาแก้ไข้ ทางชะวาใช้เป็นยาแก้กามโรค, รักษาบิด, เยื่อจมูกอักเสบ, วรรณโรคในระยะแรก และรักษาโรคไอกรน (Woophing cough) ต้นอ่อนและใบอ่อนแกงกินได้มีรสหวาน
การปลูก
ใช้เง่าปลูกเหมือนอย่างการปลูกกล้วยไม้ดินก็ได้
บทคัดลอกจาก “ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีปลูกว่าน” โดย สมาคมพฤกษชาติแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
รวบรวมและเรียบเรียงโดย นายเลื่อน กัณหะกาญจนะ
เผยแพร่โดย ทีมงาน www.farmssb.com