สะเดาเพิ่มมูลค่าอย่างไร ?

สะเดาเพิ่มมูลค่าอย่างไร?

ต้นสะเดามีให้เห็นกันอยู่ทั่วไปในประเทศไทย แล้วมันมีความสนใจยังไงกันสำหรับเจ้าต้นสะเดานี้? ปลูกต้นสะเดาซัก 1 ต้น มันเอาทำอะไรได้บ้าง? เพื่อหาคำตอบเราได้ทำการหาข้อมูลและนำมาสรุปให้ได้อ่านกัน ดังนี้ครับ

สะเดาอร่อยๆ แก้พิษโลหิต กำเดา แก้ริดสีดวงในลำคอ คันดุจมีตัวไต่อยู่ บำรุงธาตุ ขับลม

สะเดา คือ

สะเดา เป็นไม้ที่มีเติบโตได้ดีในที่แล้ง ในประเทศไทยสะเดาถูกนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น นำมาประกอบอาหาร ทำมาสร้างที่อยู่อาศัย ตลอดจนถึงการนำมาเป็นยาสมุนไพร เป็นต้น (1)

สะเดามีกี่ชนิด

สะเดา สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่

สะเดาไทย หรือ สะเดาบ้าน (Azadirachta indica var.siamensis) ลักษณะของใบหยักเป็นฟันเลื่อย ปลายของฟันเลื่อยทู่ โคนใบเบี้ยวแต่กว้างกว่า ปลายใบแหลม (2) โดยสะเดาไทยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดขมและชนิดมัน โดยจะสังเกตได้จากยอดอ่อน หากเป็นชนิดขมยอดอ่อนจะมีสีแดง แต่ถ้าเป็นชนิดมันยอดอ่อนจะมีสีขาว (3)

สะเดาไทย Azadirachta indica var.siamensis

สะเดาอินเดีย (Azadirachta indica A. Juss. var. indica) ลักษณะของใบ ขอบใบเป็นหยักคล้ายฟันเลื่อย ปลายของฟันเลื่อยแหลม ปลายใบมีลักษณะแหลมเรียวแคบมาก ส่วนโคนใบเบี้ยว (2)

สะเดาอินเดีย Azadirachta indica A. Juss. var. indica

สะเดาช้าง (สะเดาเทียม) (Azadirachta excelsa (Jack) Jacobs) ชนิดนี้ลักษณะขอบใบจะเรียบหรือปัดขึ้นลงเล็กน้อย ปลายใบเป็นติ่งแหลม ขนาดของใบและผลจะใหญ่กว่า 2 ชนิดแรก (2)

สะเดาเทียม Azadirachta excelsa (Jack) Jacobs

สารสำคัญ

  • สารอาซาดิเรซติน (Azadirachtin) พบในใบและเมล็ดของต้นสะเดา สารนี้มีฤทธิ์เป็นสารฆ่าแมลง (1)
  • น้ำมันมาร์โกสา (Margosa oil) พบในเมล็ดของต้นสะเดา ใช้เป็นสีย้อมผ้าและยาฆ่าพยาธิในสัตว์เลี้ยง (1)
  • น้ำมันขม (Margosic acid 45%) หรือบางที่เรียก Nim Oil และสารขมชื่อ Nimbin, และ Nimbidin พบว่าในเมล็ด (1)
  • สารบาคายานิน (Bakayanin) เป็นสารที่มีรสขม พบได้ในผลของสะเดา (1)
  • สารไกลโคไซด์ที่มีชื่อว่า นิมบาสเจอร์ริน (Nimbasterin), Nimbecetin, Nimbesterol, กรดไขมัน และสารที่มีรสขม พบได้ในช่อดอก (1)

วิธีขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด แต่ต้องรีบนำไปเพาะทันทีหลังจากเมล็ดร่วง มิฉะนั้น จะสูญเสียความสามารถในการงอกไปอย่างรวดเร็ว (1)

 

ประโยชน์ของสะเดา

เกือบทุกส่วนของสะเดาสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ไม่ว่าจะเป็น ดอกช่อดอก  ขนอ่อน ยอด เปลือก ก้านใบ กระพี้ ยาง แก่น ราก ใบ ผล ต้น เปลือกราก น้ำมันจากเมล็ด เป็นต้น (1)

สรรพคุณยา

  • ดอก ยอดอ่อน –  แก้พิษโลหิต กำเดา แก้ริดสีดวงในลำคอ คันดุจมีตัวไต่อยู่ บำรุงธาตุ ขับลม ใช้เป็นอาหารผักได้ดี
  • ขนอ่อน – ถ่ายพยาธิ แก้ริดสีดวง แก้ปัสสาวะพิการ
  • เปลือกต้น – แก้ไข้ เจริญอาหาร แก้ท้องเดิน บิดมูกเลือด
  • ก้านใบ – แก้ไข้ ทำยารักษาไข้มาลาเรีย
  • กระพี้ – แก้ถุงน้ำดีอักเสบ
  • ยาง – ดับพิษร้อน
  • แก่น – แก้อาเจียน ขับเสมหะ
  • ราก – แก้โรคผิวหนัง แก้เสมหะ ซึ่งเกาะแน่นอยู่ในทรวงอก
  • ใบ,ผล – ใช้เป็นยาฆ่าแมลง บำรุงธาตุ
  • ผล มีสารรสขม – ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ และยาระบาย แก้โรคหัวใจเดินผิดปกติ
  • เปลือกราก – เป็นยาฝาดสมาน แก้ไข้ ทำให้อาเจียน แก้โรคผิวหนัง
  • น้ำมันจากเมล็ด – ใช้รักษาโรคผิวหนัง และยาฆ่าแมลง

สรรพคุณทางเกษตร

  1. ใช้เป็นยาฆ่าแมลง สะเดาให้สารสกัดชื่อ Azadirachin ใช้ฆ่าแมลงโดยสูตร สะเดาสด 4 กิโลกรัม ข่าแก่ 4 กิโลกรัม ตะไคร้หอม 4 กิโลกรัม นำแต่ละอย่างมาบดหรือตำให้ละเอียด หมักกับน้ำ 20 ลิตร 1 คืน น้ำน้ำยาที่กรองได้มา 1 ลิตร ผสมน้ำ 200 ลิตร ใช้ฉีดฆ่าแมลงในสวนผลไม้ และสวนผักได้ดี โดยไม่มีพิษและอันตราย (1)
  2. ไม้สะเดา มีลักษณะคล้ายกับเนื้อไม้มะฮอกกานี ยิ่งมีอายุมากเนื้อไม้ยิ่งแกร่งเหมือนไม้แดง ไม้ประดู่ เหมาะสำหรับนำมาใช้ทำเฟอร์นิเจอร์หรือสิ่งก่อสร้าง ในบ้านเรานิยมใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน เช่น ทำเสาบ้าน ทำฝาบ้าน ไม้กระดานปูพื้น เครื่องบนที่รองรับน้ำหนักจากคาน ตง เป็นต้น แถมมอดยังไม่กินอีกด้วย หรือนำไปทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เนื่องจากเนื้อไม้สะเดามีความทนทาน ขัดเงาได้ดี มีสีแดงสวย และยังสามารถนำมาใช้ทำเป็นเชื้อเพลิง ปลูกเป็นไม้ฟืนได้ดี เพราะเนื้อไม้หนักพอสมควร ให้ความร้อนจำเพาะสูง (4)
  3. ต้นสะเดาเป็นต้นไม้ที่ปลูกได้ง่าย เติบโตเร็ว ทนทานต่อสภาพอากาศแห้งแล้งได้ดี และยังมีอายุยืนยาว อาจอยู่ได้นานถึง 200 ปี ใช้ปลูกเป็นแนวรั้วหรือปลูกเพื่อให้ร่มใบได้ (4)
  4. ไม้สะเดา มีลักษณะคล้ายกับเนื้อไม้มะฮอกกานี ยิ่งมีอายุมากเนื้อไม้ยิ่งแกร่งเหมือนไม้แดง ไม้ประดู่ เหมาะสำหรับนำมาใช้ทำเฟอร์นิเจอร์หรือสิ่งก่อสร้าง ในบ้านเรานิยมใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน เช่น ทำเสาบ้าน ทำฝาบ้าน ไม้กระดานปูพื้น เครื่องบนที่รองรับน้ำหนักจากคาน ตง เป็นต้น แถมมอดยังไม่กินอีกด้วย หรือนำไปทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เนื่องจากเนื้อไม้สะเดามีความทนทาน ขัดเงาได้ดี มีสีแดงสวย และยังสามารถนำมาใช้ทำเป็นเชื้อเพลิง ปลูกเป็นไม้ฟืนได้ดี เพราะเนื้อไม้หนักพอสมควร ให้ความร้อนจำเพาะสูง (4)
  5. ต้นสะเดาเป็นต้นไม้ที่ปลูกได้ง่าย เติบโตเร็ว ทนทานต่อสภาพอากาศแห้งแล้งได้ดี และยังมีอายุยืนยาว อาจอยู่ได้นานถึง 200 ปี ใช้ปลูกเป็นแนวรั้วหรือปลูกเพื่อให้ร่มใบได้ (4)
  6. ไม้สะเดา มีลักษณะคล้ายกับเนื้อไม้มะฮอกกานี ยิ่งมีอายุมากเนื้อไม้ยิ่งแกร่งเหมือนไม้แดง ไม้ประดู่ เหมาะสำหรับนำมาใช้ทำเฟอร์นิเจอร์หรือสิ่งก่อสร้าง ในบ้านเรานิยมใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน เช่น ทำเสาบ้าน ทำฝาบ้าน ไม้กระดานปูพื้น เครื่องบนที่รองรับน้ำหนักจากคาน ตง เป็นต้น แถมมอดยังไม่กินอีกด้วย หรือนำไปทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เนื่องจากเนื้อไม้สะเดามีความทนทาน ขัดเงาได้ดี มีสีแดงสวย และยังสามารถนำมาใช้ทำเป็นเชื้อเพลิง ปลูกเป็นไม้ฟืนได้ดี เพราะเนื้อไม้หนักพอสมควร ให้ความร้อนจำเพาะสูง (4)
  7. ต้นสะเดาเป็นต้นไม้ที่ปลูกได้ง่าย เติบโตเร็ว ทนทานต่อสภาพอากาศแห้งแล้งได้ดี และยังมีอายุยืนยาว อาจอยู่ได้นานถึง 200 ปี ใช้ปลูกเป็นแนวรั้วหรือปลูกเพื่อให้ร่มใบได้ (4)
  8. ไม้สะเดา มีลักษณะคล้ายกับเนื้อไม้มะฮอกกานี ยิ่งมีอายุมากเนื้อไม้ยิ่งแกร่งเหมือนไม้แดง ไม้ประดู่ เหมาะสำหรับนำมาใช้ทำเฟอร์นิเจอร์หรือสิ่งก่อสร้าง ในบ้านเรานิยมใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน เช่น ทำเสาบ้าน ทำฝาบ้าน ไม้กระดานปูพื้น เครื่องบนที่รองรับน้ำหนักจากคาน ตง เป็นต้น แถมมอดยังไม่กินอีกด้วย หรือนำไปทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เนื่องจากเนื้อไม้สะเดามีความทนทาน ขัดเงาได้ดี มีสีแดงสวย และยังสามารถนำมาใช้ทำเป็นเชื้อเพลิง ปลูกเป็นไม้ฟืนได้ดี เพราะเนื้อไม้หนักพอสมควร ให้ความร้อนจำเพาะสูง (4)
  9. ต้นสะเดาเป็นต้นไม้ที่ปลูกได้ง่าย เติบโตเร็ว ทนทานต่อสภาพอากาศแห้งแล้งได้ดี และยังมีอายุยืนยาว อาจอยู่ได้นานถึง 200 ปี ใช้ปลูกเป็นแนวรั้วหรือปลูกเพื่อให้ร่มใบได้ (4)

เมนูจากสะเดา

  1. ยอดอ่อนและดอกอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสดหรือใช้ลวกกินกับน้ำพริกหรือลาบ (กะเหรี่ยงแดง), ยอดอ่อนใช้กินกับลาบ (ไทลื้อ) ส่วนช่อดอกใช้ลวกกินกับน้ำพริก (คนเมือง), หรือจะใช้ดอกรับประทานร่วมกับแกงหน่อไม้หรือลาบก็ได้ (คนเมือง), ส่วนแกนในยอดอ่อนใช้ประกอบอาหารได้ เช่น การนำมาทำเป็นแกง (ลั้วะ) (4)
  2. น้ำปลาหวานสะเดา อีกหนึ่งเมนูอาหารที่ให้พลังงานค่อนข้างสูง ให้โปรตีนพอใช้ แต่ให้ไขมันต่ำ มีคุณค่าทางอาหารสูง ทั้งแร่ธาตุและวิตามิน ช่วยแก้ไข้หัวลม บรรเทาความร้อนในร่างกาย ช่วยปรับธาตุให้สมดุล ช่วยทำให้เจริญอาหาร ทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันโรคมะเร็งได้อีกด้วย (4)
  3. กล้วยตากของจังหวัดตากมีชื่อเสียงว่ารสชาติดี ไส้กล้วยไม่นิ่มแข็ง หนึบนอกนุ่มใน เพราะใช้ใบสะเดาในการบ่มกล้วย โดยวางกล้วยแก่จัดซ้อนกันไม่เกิน 3 ชิ้น แล้วคลุมด้วยใบสะเดาและห่อด้วยพลาสติกทิ้งไว้ 1 วัน แล้วนำมาผึ่งข้างนอกอีก 3-4 วัน จะได้กล้วยที่สุกงอมนำไปทำกล้วยตากได้ นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันแมลงวันทองมาเจาะผลกล้วยได้ด้วย (4)
  4. สะเดาเป็นผักที่มีแคลเซียมสูงสุดเป็นอันดับ 3 มีธาตุเหล็กสูงสุดเป็นอันดับ 4 มีเส้นใยอาหารสูงเป็นอันดับ 3 และมีเบตาแคโรทีนสูงเป็นอันดับ 5 ในบรรดาผักทั้งหมด (4)
น้ำปลาหวานสะเดาดูแล้วน่าอร่อยมากๆ

คุณค่าทางโภชนาการของยอดสะเดา (ต่อ 100 กรัม) (4)

  • พลังงาน 76 กิโลแคลอรี
  • คาร์โบไฮเดรต 5 กรัม
  • โปรตีน 4 กรัม
  • ไขมัน 5 กรัม
  • เส้นใยอาหาร 2 กรัม
  • น้ำ 9 กรัม
  • เบต้าแคโรทีน 3,611 ไมโครกรัม
  • วิตามินบี1 0.06 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี2 0.07 มิลลิกรัม
  • วิตามินซี 194 มิลลิกรัม
  • แคลเซียม 354 มิลลิกรัม
  • เหล็ก 6 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม

 

ราคาสะเดาในไทย

สะเดาถึงแม้จะเป็นพืชที่มีประโยชน์มากมายแต่ราคาก็ไม่ได้สูงมากมายนัก ราคาของสะเดาในปลายปี 2564 อยู่ประมาณนี้ครับ

  1. ส่วนดอก ราคากิโลกรัมละ 80 – 100 บาท (5)
  2. สำหรับไม้สะเดาเทียมที่สวยงามต้นต้องสูง ขนาด 9-10 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 100 ซม. ราคาไม่ต่ำกว่า 2,000 บาท/ต้น แต่หากนำมาแปรรูปขายจะได้ราคาประมาณกว่า 4,000 บาท / ต้น (6)
เพิ่มมูลค่าให้สะเดาอย่างไร?

การเพิ่มมูลค่าให้กับสะเดา

หากจะกล่าวถึงการเพิ่มมูลค่าอาจจะยาวเกินสำหรับบทความนี้ ดังนั้น เราจึงขอแนะนำ หนังสือฟรี เพิ่มอ่านเพิ่มเติมได้

  1. วิจัยการใช้ประโยชน์ไม้สะเดาเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ
  2. คุณสมบัติของไม้เศรษฐกิจโตเร็ว (ไม้สะเดา)

สรุป

สะเดา คือต้นไม้ที่มีประโยชน์มากมายในหลากหลายด้านไม่ว่าจะเป็นการทำอาหาร การนำไปใช้ทางยาสมุนไพร นำไปใช้ในการเกษตร นำไปใช้เพื่อปลูกสิ่งก่อสร้างต่างๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตามราคาของสะเดาในปัจจุบันยังคงสวนทางกับคุณประโยชน์ การเพิ่มคุณค่าของสะเดาเป็นสิ่งที่น่าสนใจและอาจจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับผู้ปลูกได้

 

เขียนโดย: หมอก็อต คลินิกแพทย์แผนไทย ลำพูน (โฮงยาพรมธวิหารฐ์)

๒๙ พ.ย. ๖๔

———————————–

 

อ้างอิง

  1. กมลพรรณ นามวงศ์พรหมและสุรีรัตน์ คิ้วฮก. 2535. การขยายพันธุ์สะเดาในหลอดทดลองโดยการกระตุ้นให้เอมบริโอและชิ้นส่วนต้นอ่อนแตกยอดจำนวนมาก. วารสารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 10, 1-12.
  2. กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. “ชนิดของสะเดา”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.doae.go.th.  [14 พ.ย. 2013].
  3. ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดนครราชสีมา (พืชสวน). “สะเดาไทย พืชสารพัดประโยชน์”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.aopdh06.doae.go.th.  [14 พ.ย. 2013].
  4. สะเดา. Available from: https://medthai.com/สะเดา/.
  5. ราคาสะเดา. Available from: https://www.simummuangmarket.com/product/192.
  6. สะเดาแปรรูป. Available from: https://www.thairath.co.th/news/local/south/1601811.