สารบัญ: คลิ๊กเลือกอ่าน
ยอดยาสมุนไพรไทย ทะลายโควิด-19
“บ้านว่านไทย” และ “บ้านสวนสุขสบาย” ขอเผยแพร่เพื่อเป็นวิทยาทาน โดยหวังว่าอาจจะใช้ช่วยเป็นการรักษาแบบ “ทางร่วม” กับยาแผนปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยหายได้ไวขึ้น และทรมานจากพิษของโรคน้อยลง อาจเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมเยียวยารักษาและยับยั้งการระบาดของ ไวรัส-COVID19 ครับ
ด้วย ณ เวลานี้มาตรการป้องกันการติดเชื้อเพียงอย่างเดียวไม่พอแล้ว ต้องเตรียมการถึงมาตรการเยียวยา ยาม สถานพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ และยารักษามีไม่เพียงพอด้วย…
ไวรัสโคโรนา คืออะไร? (1)
ไวรัสชนิดหนึ่งในตระกูลโคโรนาที่พบมานานกว่า ๕๐-๖๐ ปีแล้ว มีลักษณะคล้ายมงกุฎ จึงตั้งชื่อว่า “โคโรนา” ที่แปลว่า มงกุฎ สามารถก่อให้เกิดโรคได้ทั้งในสัตว์และมนุษย์ ซึ่งในมนุษย์จะก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบ
ไวรัสโคโรนา มาจากไหน? (1)
คาดว่าอาจจะเกิดจากการติดเชื้อจากสัตว์ในตลาดสดอู่ฮั่น ประเทศจีน ซึ่งจากพฤติกรรมของไวรัส คาดว่าน่าจะเกิดมาจากงู โดยเชื้อส่งผ่านจากค้างคาวมาสู่งู และงูไปยังมนุษย์
ติดต่อทางไหน แพร่จากคนสู่คนได้อย่างไร? (1)
แพร่กระจายเชื้อได้จากละอองฝอยจากการไอหรือจาม น้ำลาย น้ำมูก ซึ่งหากร่างกายสูดดมเอาละอองฝอยจากการไอ จาม ของผู้ติดเชื้อก็จะสามารถรับเชื้อไวรัสโคโรนาเข้าสู่ร่างกายได้
รับเชื้อแล้ว ป่วยทันทีเลยไหม? (1)
โรคนี้จะมีระยะฟักตัวประมาณ ๒-๑๔ วัน โดยอาจไม่มีอาการป่วยที่สังเกตเห็นได้ จึงเป็นช่วงเวลาที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษหลังจากมีประวัติสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ป่วย
อาการเป็นอย่างไร?
อาการจะคล้ายๆ ไข้หวัดทั่วไป คือ มีไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก เจ็บคอ แต่หากมีอาการปวดเมื่อยเนื้อตัว เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก ควรรีบมาพบแพทย์ด่วน!!!! เพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างอาการปอดอักเสบได้ (1) (อัตราการเสียชีวิตจะสูงขึ้นหากมีมีการติดเชื้อที่ปอด ดังนั้นการป้องกันและรักษาแบบ “ทางร่วม” จึงควรใช้ทันทีเพื่อป้องกันอาการไวรัสลงปอด)
หากป่วยแล้ว เสียชีวิตไหม? (1)
ผู้ที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิต มักจะเป็นผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัว คนที่มีภูมิต้านทานต่ำ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน หากร่างกายมีภูมิต้านทานแข็งแรง ก็อาจจะเป็นแค่ไข้หวัด และสามารถหายได้เอง
ความรุนแรงของโรค (2)
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลคนไข้ 56,000 คน ที่จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลก บ่งชี้ว่า ผู้ได้รับเชื้อ 4 ใน 5 คน จะมีอาการป่วยไม่รุนแรง โดย :
80% มีอาการไม่รุนแรง
14% มีอาการรุนแรง
6% มีอาการวิกฤต
ส่วนอัตราการเสียชีวิตอยู่ในระดับต่ำที่ 1-2%
ป้องกันไวรัสโคโรนา อย่างไรได้บ้าง? (1)
ควรกินร้อน แยกช้อน กินอาหารปรุงสุก ล้างมือบ่อย ๆ รวมไปถึงหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ชุมชนแออัด หรือหากจำเป็นต้องออกไปข้างนอกที่มีคนพลุกพล่าน ก็ควรสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา
อย่าลืมสังเกตตัวเอง หากท่านใดมีอาการมีไข้สูงมากกว่า 37.5องศา, ไอ เจ็บคอ, น้ำมูกไหล, หายใจเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก ควรรีบมาพบแพทย์ด่วน!!!!
กลไกลการเกิดโรค
โคโรน่าไวรัส มีกลไกพื้นฐานในการทำงานคล้ายคลึงกับไวรัสโรคเอดส์หรือเชื้อไวรัสเอชไอวี ในการจู่โจมเซลล์ของผู้ป่วย และในส่วนที่มีสายพันธุกรรมหรือยีนเป็น RNA แทนที่จะเป็น DNA เหมือนกับเซลล์สิ่งมีชีวิตชั้นสูงทั่วไป จะมีโอกาสกลายพันธุ์สูงและอาจสามารถติดเชื้อข้ามสปีชีได้
ต่อจากนี้เรากำลังให้ข้อมูลของสมุนไพรแต่ละสูตร แต่ละตำรับมากับแบบฟรีๆ สามารถทำเองได้บ้านไม่ยากครับ
ยาฟ้าทะลายโจร (3-8)
ฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata) เป็นพืชท้องถิ่นของอินเดียและศรีลังกา และกระจายไปยังเอเชียใต้และตะวันตกเฉียงใต้ ใช้เป็นสมุนไพรในการรักษาโรคต่าง ๆ มานานหลายสิบปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคติดเชื้อและอาการหวัด เป็นพืชเขตร้อนชื้น ไม่สามารถปลูกในเขตหนาวหรือเขตอบอุ่นได้
สารสำคัญที่ออกฤทธิ์ คือ แอนโดรกราโฟไลด์ (andrographolide) และอนุพันธ์ ซึ่งมีรายงานการค้นพบในวารสารอินเดียตั้งแต่ พ.ศ. 2494 งานวิจัยส่วนใหญ่ตีพิมพ์ในวารสารของประเทศอินเดียและจีน มีการวิจัยในฐานะเป็นสารสกัดแอนโดรกราโฟไลด์ ที่มีฤทธิ์ยับยั้งไวรัสชนิดต่าง ๆ นาน กว่า 10 ปี รวมทั้งมีการวิจัยหาขนาดยาและผลข้างเคียง
เมื่อเกิดการระบาดของโควิด-19 การวิจัยพบว่าสารแอนโดรกราโฟไลด์มีฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสโควิด-19 (SARS-CoV-2) ในเซลล์เนื้อเยื่อ แต่ไม่ยับยั้งการเข้าเซลล์
ข้อมูลวิจัยการใช้ยาฟ้าทะลายโจร (ที่มีสารแอนโดรกราโฟไลด์ตามที่กำหนด) รักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย พบว่า มีผลข้างเคียงน้อย และมีประโยชน์ในการรักษาผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ และผู้มีอาการน้อย (ยังไม่มีปอดอักเสบ) โดยระงับไม่ให้โรครุนแรงขึ้น หายจากการติดเชื้อโดยไม่เกิดปอดอักเสบ นอกจากนี้ ประเทศจีนได้ผลิตแอนโดรกราโฟไลด์ชนิดฉีดในการรักษาโควิด-19 ที่อาการรุนแรงกว่า
ฟ้าทะลายโจร หรือ สารแอนโดรกราโฟไลด์ มี 3 กลไกที่เกี่ยวข้องในการรักษาโควิด-19 คือ
- การยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัส (virostatic) ไม่มีฤทธิ์ป้องกันการเข้าเซลล์หรือกำจัดไวรัส
- ลดการอักเสบ ซึ่งมีผลในการลดไข้ ลดอาการหวัด ไอ เจ็บคอ
- ปรับภูมิคุ้มกัน
ข้อพึงตระหนัก
- การใช้เพื่อยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัส (virostatic):
เนื่องจากยาฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสในเซลล์ แล้วร่างกายกำจัดเอง จึง “จะได้ผลดีขึ้นเมื่อให้ยาเร็วที่สุด ในขณะที่เป็นการติดเชื้อระยะต้นและเชื้อยังน้อย (ไม่ควรเกิน 72 ชั่วโมงหลังรับเชื้อ) ร่วมกับ “การให้ผู้ติดเชื้อได้พักผ่อนและดูแลสุขภาพให้ดี”
- กรณีที่ใช้รักษาอาการ เช่น ไข้ หวัด ไอ เจ็บคอ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการยับยั้งการเพิ่มจำนวนไวรัส มีคำแนะนำให้ใช้ขนาดยาน้อยกว่านี้
- เป็น “ยาที่ความปลอดภัยสูง ประเทศไทยผลิตได้เอง ราคาไม่แพง และข้อมูลเบื้องต้นแสดงว่ามีประโยชน์มาก” ขณะนี้ ถือเป็นยาที่ใช้ในกรณีฉุกเฉิน โดยมีข้อมูลเบื้องต้นในระดับที่ให้ความเชื่อมั่นพอควร เช่นเดียวกับยาฟาวิพิราเวียร์ จึงสมควรพิจารณาใช้รักษาโควิด-19 และช่วยกันรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมต่อไป
วิธีทำกินเอง
- เก็บส่วนต้นและใบ (ดอกก็ใช้ได้) ฟ้าทะลายโจรมาตากแดด หรือทำให้แห้งโดยการอบที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลล์เซียส จนให้ฟ้าทะลายโจรกรอบแห้ง
- นำไปบดให้ละเอียดแล้วเก็บไว้ในที่ไม่ชื้น
- นำมาอัดแคปซูล หรือ ทำลูกกลอนก็ได้ตามที่ท่านสะดวก
ข้อจำกัด ข้อห้าม ข้อควรระวัง
ผู้ป่วยเด็ก : ไม่มีข้อมูลขนาดยาที่เพียงพอที่จะแนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยเด็กที่เป็นโควิด-19 รวมทั้งยามีลักษณะเป็นแคปซูลบรรจุผงยาที่ขมมาก เด็กเล็กจะกินได้ยาก
– สำหรับเด็กโต อาจพิจารณาใช้ขนาด 3-3.5 มก./น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน แบ่งให้วันละ 3-4 ครั้ง
– เด็กที่น้ำหนักตัวตั้งแต่ 50 กก.ขึ้นไป ใช้ยาในขนาดของผู้ใหญ่
ข้อห้าม : ห้ามใช้ในกรณีต่อไปนี้
– ผู้ที่แพ้ฟ้าทะลายโจร
– หญิงตั้งครรภ์/อาจจะตั้งครรภ์ หญิงที่กำลังให้นมบุตร เพราะอาจทำให้เกิดการบีบตัวของมดลูกเป็นผลให้แท้งหรือคลอดก่อนกำหนด หรือ ทารกผิดปรกติ
ข้อควรระวัง :
–การใช้ร่วมกับยากันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulants) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets) เช่น ยาวาร์ฟาริน แอสไพริน โคลพิโดเกรล เพราะอาจเสริมฤทธิ์กันได้
–การใช้ร่วมกับยาลดความดันเลือด เพราะอาจเสริมฤทธิ์กันได้
–การใช้ร่วมกับยาที่กระบวนการเมแทบอลิซึม ผ่านเอนไซม์ Cytochrome P450 (CYP 450) เนื่องจากฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ CYP 1A2, CYP 2C9 และ CYP 3A4
– หากใช้ขนาดสูงหรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานเกินกว่าที่แนะนำ อาจทำให้แขนขามีอาการชาหรืออ่อนแรง และผลข้างเคียงอื่นๆ
ขนาดยาที่ใช้ในการรักษาโควิด-19 โดยการยับยั้งการเพิ่มจำนวนไวรัสในเซลล์
ใช้ยาฟ้าทะลายโจรที่ระบุปริมาณแอนโดรกราโฟไลด์ เท่านั้น ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่ หรือผู้ที่มีน้ำหนักตัวตั้งแต่ 50 กิโลกรัมขึ้นไป คือ “แอนโดรกราโฟไลด์ 180 มก./วัน แบ่งให้วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร เป็นเวลา 5 วัน” ใช้ได้ทั้งในรูปแบบ ยาสารสกัดฟ้าทะลายโจร และ ยาผงบดฟ้าทะลายโจร ต้องให้ได้ปริมาณที่ได้รับใกล้เคียง 180 มก./วัน กรณีตัวอย่าง เช่น
- กรณีที่ฉลากมีการระบุปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ที่ชัดเจน เช่น ยาสารสกัดฟ้าทะลายโจร ซึ่งมีการระบุปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ 20 มก./แคปซูล ให้กินครั้งละ 3 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง
- กรณีที่ฉลากมีการระบุปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์เป็นค่า “ไม่น้อยกว่า หรือ %” เช่น
- ยาสารสกัดฟ้าทะลายโจร หรือ ยาผงบดฟ้าทะลายโจร ชนิดแคปซูล ซึ่งมีการระบุปริมาณ “สารแอนโดรกราโฟไลด์ไม่น้อยกว่า 12 มก./แคปซูล” ให้กินครั้งละ 5 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง
- ยาผงบดฟ้าทะลายโจร ชนิดแคปซูล ระบุ % เช่น “สารแอนโดรกราโฟไลด์ ไม่น้อยกว่า 2%” (สำหรับ ขนาด 400 มก./แคปซูล เมื่อคำนวนเป็นปริมาณแอนโดรกราโฟไลด์จะได้ไม่น้อยกว่า 8 มก./แคปซูล) ให้กินครั้งละ 7 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง
- กรณีที่ฉลากไม่ได้ระบุปริมาณแอนโดรกราโฟไลด์ ไม่แนะนำให้นำมาใช้ในกรณีนี้ แต่สามารถใช้ลดไข้ แก้เจ็บคอ บรรเทาอาการหวัด หรือแก้ท้องเสียแบบไม่ติดเชื้อได้ โดยสามารถอ่านคำแนะนำการใช้ยาตามฉลากและเอกสารกำกับผลิตภัณฑ์นั้น
ยาจันทลีลา
ยาจันทน์ลีลา เป็นตำรับยาแก้ไข้ โดยเฉพาะไข้ที่เกิดในช่วงอากาศที่เปลี่ยนแปลง การใช้ตำรับนี้สามารถครอบคลุมการรักษาไข้ได้ เพราะประกอบด้วยตัวยาสมุนไพรหลายชนิดในตำรับ มีตัวยาตรง ช่วยแก้ไข้ ลดความร้อนในร่างกาย และตัวยาช่วย เพื่อลดอาการข้างเคียงของไข้ เช่น ไอ เสมหะ หืดหอบ ในตำรับยังมี “โกฐจุฬาลัมภา” ที่ล่าสุดในช่วงสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่ประเทศจีนได้ใช้เป็นยารมฆ่าเชื้อ และมีการศึกษาการจับกันของเชื้อในคอมพิวเตอร์พบว่า สาร Artemisinin มีคุณสมบัติต้านไวรัสได้ การวิจัยในปัจจุบันพบว่า ยาจันทน์ลีลา สามารใช้ลดไข้ได้ดี เช่นเดียวกับยาพาราเซตามอล รวมทั้งมีฤทธิ์ต้านการอักเสบและลดปวด (9)
ขนาดและวิธีใช้ (10)
ชนิดผง
ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1-2 กรัม ละลายน้ำสุก ทุก 3-4 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ
ในเด็ก อายุ 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม-1 กรัม ละลายน้ำสุก ทุก 3-4 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ
ชนิดแคปซูล
ในผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1-2 กรัม ทุก 3-4 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ
ในเด็ก อายุ 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม-1 กรัม ทุก 3-4 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ
ข้อควรระวัง
– ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากอาจบดบังอาการของไข้เลือดออก
– หากใช้ยาเป็นเวลานานเกิน 3 วัน แล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์
ข้อมูลเพิ่มเติม แนะนำให้ใช้ยาจันทน์ลีลาได้ในหญิงที่มีไข้ทับระดูหรือไข้ระหว่างมีประจำเดือนแคปซูลและชนิดเม็ด
ยาห้าราก
ยาห้ารากนี้เป็นตำรับที่ใช้รักษา เป็นยาตามพระคัมภีร์ตักกะศิลา ในสมัย ร.5 ซึ่งประกอบด้วย ยา 5 ราก ที่ช่วยฆ่าเชื้อไวรัสภายในร่างกาย ที่ผ่านมายังไม่มีคนไข้ได้รับผลข้างเคียง แต่จะมีข้อห้ามในคนที่ป่วยด้วยโรคประจำตัว เบาหวาน ความดัน ภูมิแพ้ หรือโรคหัวใจ ที่ต้องมีการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด (11)
สูตรตำรับ ในผงยา 100 กรัม ประกอบด้วยรากคนทา รากชิงชี่ รากเท้ายายม่อม รากมะเดื่อชุมพร รากย่านาง หนักสิ่งละ 20 กรัม ข้อบ่งใช้ บรรเทาอาการไข้ (12)
ขนาดและวิธีใช้ (12)
ชนิดผง ชนิดแคปซูล และชนิดเม็ด
ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1-1.5 ก วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร เมื่อมีอาการ
เด็ก อายุ 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 500 มก – 1 ก วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร เมื่อมีอาการ
หมายเหตุ : ชนิดผงให้ละลายน้ำสุกก่อนรับประทาน
ข้อควรระวัง (12)
- ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากอาจบดบังอาการของไข้เลือดออก
- หากใช้ยาเป็นเวลานานเกิน 3 วัน แล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์
- ไม่แนะนำให้ใช้ในหญิงที่มีไข้ทับระดู หรือไข้ระหว่างมีประจำเดือน
ยาองครักษ์พิทักปอด (13)
องครักษ์ พิทักษ์ปอดจากไวรัส COVID19 เป็นยาที่ถูกปรุงโดยการใช้สมุนไพรจีนซึ่งจัดตามร้านยาจีนราคาประมาณ 60 บาท ต้มกินแทนน้ำ ตำรับนี้เป็นการป้องกันและรักษาแบบ “ทางร่วม” วิธีการทำสามารถคลิ๊กดูได้ที่นี่
ตำรับยาขนานนี้มีตัวยา ๖ สิ่ง ได้แก่
๑. 苍术 cāng zhú (Atractylodis Lanceae Rhizoma) ๓ กรัม, เป็นเหง้าแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Atractylodes lancea (Thunb.) DC. วงศ์ Compositae, เป็นตัวยาไทยที่เรียก ‘โกษฐ์เขมา’
๒. 金银花 jīn yín huā (Lonicerae Japonicae Flos) ๕ กรัม, เป็นดอกตูมแห้งของพืชซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lonicera japonica Thunb. วงศ์ Caprifoliaceae, ไทยเรียก ‘ดอกสายน้ำผึ้ง’
๓. 陈皮 chén pí (Citri Reticulatae Pericapium) ๓ กรัม, เป็นเปลือกผลแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Citrus reticulata Blanco วงศ์ Rutaceae, ไทยเรียก ‘เปลือกส้มแมนดาริน (Mandarin orange peel)
๔. 芦根 lú gēn (Phragmitis Communis Rhizoma) ๒ กรัม, เป็นเหง้าแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phragmites australis (Cav.) Trin. ex Steud. วงศ์ Poaceae, ไทยเรียก ‘อ้อเล็ก (common reed)
๕. 桑叶 sāng yè (Mori Albi Folium) ๒ กรัม, เป็นใบแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Morus alba L. วงศ์ Moraceae, ไทยเรียก ‘ใบหม่อน (mulberry leaf)’
และ ๖. 生黄芪 shēng huáng qí (Astragali Membranaceae Radix) ๑๐ กรัม, เป็นรากแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Astragalus propinquus Schischkin วงศ์ Leguminosae, เรียก ‘เซิงหวงฉี’ (จีนสำเนียงแมนดาริน)
ยาลิ้นเป็ด (แนะนำ) (13)
ต้นลิ้นเป็ด (ว่านคออูด) เป็นยารักษาโรคปอดชนิดหายยาก เช่น ไอมองคร่อ วัณโรค ได้ ตัวนี้ทานระยะยาวได้
วิธีทำ
ใช้ใบตากแดดให้แห้ง บดผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอน
วิธีรับประทาน
ทานวันละ ๒ เม็ด เช้า-เย็น หากอาการหนักให้เพิ่มได้ถึง ๕ เม็ด เช้า-เย็น
ยานี้ข้าพเจ้า (อรรถ) มีประสบการณ์การใช้รักษาโรคไอเรื้อรังและโรคปอดทั้งหลายได้ชะงัด ความหวังหนึ่งในการช่วยเยียวยา ในยามหมอ และยาขาดแคลน
พลูคาว สมุนไพรเสริมภูมิคุ้มกันและต้านไวรัส (14) (แนะนำ)
จากการศึกษางานวิจัยสมุนไพรพลูคาว (H. cordata) พบว่า สารสกัดจากพลูคาวมีผลในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้มีความสามารถในการต่อต้านเชื้อไวรัส SARS-CoV ได้ โดยการกระตุ้นสารในระบบภูมิคุ้มกัน และกระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่กำจัดเชื้อไวรัสต่าง ๆ หลายชนิด และมีผลยับยั้งการออกฤทธิ์ของเชื้อ SARS-CoV ในหลอดทดลองอีกด้วย (Lau et al, 2008) (14)
จากรายงานผลการตรวจหาลำดับเบสของสารพันธุกรรมอาร์เอ็นเอของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ จัดเป็นไวรัสในตระกูลเดียวกับ SARS-CoV ซึ่งก่อให้เกิดโรคซาร์ส มีความคล้ายคลึงกันถึง 70% จึงทำให้สมุนไพรพลูคาว มีความน่าสนใจในการนำมาใช้เพื่อ ฟื้นฟู กระตุ้นและเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายในช่วงที่ไวรัสกำลังระบาด เพื่อทำให้ร่างกายมีความสามารถในการรับมือกับเชื้อไวรัสนี้ได้ดีมากขึ้น (14)
วิธีใช้
ทั้งต้นแห้งประมาณ ๑๕-๓๐ กรัม (ต้นสด ๓๐-๖๐ กรัม) นำมาแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ ๓ นาที แล้วนำมาต้มน้ำให้เดือดประมาณ ๕ นาทีแล้วนำมาดื่ม แต่หากใช้ร่วมกับสมุนไพรหรือยาชนิดอื่น ให้ต้มยาอื่นให้เดือดก่อนจึงใส่ยา ต้มให้เดือด (15) ประทานครั้งละ ๑/๒ ถึง ๑ แก้ว สามเวลา
คำเตือน (15)
การรับประทานถ้ามากเกินไป อาจจะทำให้หัวใจเต้นสั้นและถี่ ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้
ยาสูตรหมอเสือ ยาดับไข้ นารายณ์พลิกแผ่นดิน (แนะนำ)
ยานี้เป็นสูตรที่หาทำทานได้ง่ายโดยเฉพาะในเขตชนบทเพราะตัวยาต่างๆมีครบ โดยเฉพาะหญ้าใต้ใบซึ่งมีมากในฤดูฝน ขึ้นตามป่าและบ้านเรือนทั่วไป (ในเมืองอาจหายากสักหน่อย) ผมพยามให้ข้อมูลเดิมทั้งหมด จัดเรียงหน้า ถอดความคำต่อคำ และทิ้งลิงค์สำคัญไว้ให้ครับ
ยานี้บอกสูตรไว้ในข่าวช่อง 7 ตั้งแต่ปี 2019 ซีซั่นที่ 1 มอบสูตรโดยหมอเสือ ศุภฤกษ์ ชาญเชิดศักดิ์ (16-18)
ส่วนผสม
- ตะใคร้แกง 5 ต้น เอาทั้งราก ตัดใบออกครึ่งนึงแล้วทุบโคน ขมวด
- หญ้าใต้ใบ 5 ต้น ทั้งราก (จะใช้อย่างต้นเขียว ต้นแดงได้หมด ขอให้เป็นหญ้าใต้ใบ หรือ ต้นลูกใต้ใบ ตามภาษาบางถิ่น) ต้นสูงหนึ่งฟุตขึ้นไปนะ
- ใบมะนาว 32 ใบ
ถ้าหาสดไม่ได้ ให้ใช้
- ตะใคร้แห้ง 5 ต้น
- หญ้าใต้ใบแห้ง หนัก 45 ก. หรือ 3 บาท
- ใบมะนาวแห้ง 45 ก. หรือ 3 บาท
วิธีปรุง
- ใส่ส่วนผสมทั้งหมดลงหม้อ หม้อที่ใช้ต้มยา ควรเป็นหม้อเคลือบ หรือ หม้อแสตนเลส อลูมิเนียมห้ามใช้ [ยามีฤทธิ์กัดร่อนและทำปฏิกิริยากับอลูมีเนียม ปกติการต้มยาทางแพทย์แผนไทยจะห้ามใช้หม้ออลูมีเนียม]
- เติมน้ำ 3-4 ลิตร [ผมใช้ 3 ลิตร เข้มข้นสะใจดี] แล้วปิดฝาต้มให้เดือด
- แล้ว เคี่ยวไฟอ่อนๆ ต่อไปอีก 20 นาที
- กินวันละ สองครั้งเพื่อป้องกัน คือเช้า หรือก่อน นอน กินครั้งละครึ่งแก้วกาแฟ
- ถ้าติดเชื้อแล้ว ให้กินทุกๆ 4 ชม. วันละ 4 ครั้ง
- ยาปิดฝาไว้ ควรอุ่นให้เดือดทุกวัน เพื่อกันยาเสีย กินจนหมดน้ำ และพลียาทิ้งที่โคลนไม้ หรือลงน้ำไป ขอฝากยา ให้แม่คงคาหรือแม่ธรณีนำพาไป
ส่วนผสมนี้ ต้มทานจนหมดน้ำ ได้ครั้งเดียว หมดแล้ว หาตัวยาต้มหม้อใหม่ตามเดิม คนท้อง แม่ลูกอ่อนกินได้นะ มอบให้เพื่อเป็นวิทยาทาน และเป็นทานเพื่อช่วยชีวิต ผู้ใดคิดเพื่อการค้า หรือเอาไปแสวงหาผลประโยชน์ ขอให้ฉิบหาย มีลูกชายขอให้เป็นทาส มีลูกสาวขอให้เป็นโสเภณี
หมอเสือ 19/07/64
#ใครถามอีกนะเป็นผญ.จะจับหยิกHee #เป็นผช.จะเอาหนังยางมัดไข่ให้ #บอกระเอียดแบบนี้ถ้าทำไม่ได้ก็ตายไปเหอะ #นักบุญคนบาปผู้หยาบช้าเกรี้ยวกราด #ยาที่มึงเคยดูถูกหัวเราะว่าเครื่องต้มยำที่ตอนนี้มึงต้องมาแดกกัน
หมายเหตุ เชิงประสบการณ์หลังจากลองทำกิน
- ยามีรสขมใช้ได้เลยครับ หากต้องการให้ทานง่าย ปรุงรสด้วยน้ำตาลหรือน้ำผึ้งพอประมาณ ค่อยๆจิบกินช่วงหลังๆจะชินและกินง่ายขึ้นครับ
- ใช้เวลาในการปรุงตั้งแต่หายา ล้างยาจนปรุงเสร็จก็ราวๆสาม ชม. เอาเรื่องเหมือนกัน…. เผื่อเวลาไว้ด้วยเมื่อต้องการใช้ด่วน
ตัวยาที่ใกล้เคียงกัน
อย่าเผลอหยิบผิดต้นนะครับ “หญ้าใต้ใบ ลูกใต้ใบ” ชื่อนี้ ต้นนี้มีคล้ายคลึงกันถึงสามต้นด้วยกัน ดังนี้
- ลูกใต้ใบขาว Phyllanthus amarus Schumach. & Thonn (19)
ชื่อที่เรียกกัน ลูกใต้ใบ, หญ้าใต้ใบขาว(สุราษฏร์ธานี), ลูกใต้ใบ(ใบเขียว), ชิงเจินจูฉ่าว(青珍珠草),ต้นใต้ใบ, หญ้าลูกใต้ใบ, หมากไข่หลัง (เลย), หญ้าใต้ใบ (อ่างทอง, นครสวรรค์, ชุมพร), ไฟเดือนห้า (ชลบุรี), หน่วยใต้ใบ (คนเมือง), มะขามป้อมดิน (ภาคเหนือ), จูเกี๋ยเช่า (จีน) ต้นนี้เป็นต้นที่พบได้ทั่วไปและใช้เป็นต้นหลักในการรักษา
- หญ้าใต้ใบ (20, 21) Phyllanthus urinaria Linn. (22)
ชื่อที่เรียกกัน ลูกใต้ใบตัวผู้, หญ้าใต้ใบแดง, หงเจินจูฉ่าว (红珍珠草),ไฟเดือนห้า (ชลบุรี) ต้นนี้พบได้น้อยในประเทศไทย และเวลาพบมักพบคู่กับลูกใต้ใบขาว
- ขางอำไพ Phyllanthus virgatus G.Forst. (23)
ชื่อที่เรียกกัน แพงคำห้อย, ลูกใต้ใบ, แพงคำน้อย (ศรีสะเกษ), ขางอำไพ(แพร่)
ขางอำไพ ชอบขึ้นตามคันนาหรือข้างถนน ต้นแตกพุ่มเตี้ย ใบสดตำพอกเป็นยาแก้คัน รากตำ เป็นยาพอกฝี (24)
ต้นขางอำไพนี้ ผิวเผินคล้ายลูกใต้ใบ แตกต่างที่ต้นจะเตี้ยติดดิน ใบเรียวแหลม ต้นนี้เอามาใช้ในสูตรนี้ไม่ได้ครับ ผิดสรรพคุณ
ตารางแสดงขนาดยารักษา COVID-19 ที่แนะนำในผู้ใหญ่และเด็ก (5, 25-29)
ยา/ขนาดยาในผู้ใหญ่ | ขนาดยาในผู้ป่วยเด็ก | ข้อควรระวัง/ผลข้างเคียงที่พบบ่อย |
Favipiravir (200 mg/tab)
วันที่ 1: 1,800 mg (9 เม็ด) วันละ 2 ครั้ง วันต่อมา: 800 mg (4 เม็ด) วันละ 2 ครั้ง ถ้าน้าหนักตัว >90 กิโลกรัม วันที่ 1: 2,400 mg (12 เม็ด) วันละ 2 ครั้ง วันต่อมา: 1,000 mg (5 เม็ด) วันละ 2 ครั้ง |
วันที่ 1: 60 mg/kg/day วันละ 2 ครั้ง
วันต่อมา: 20 mg/kg/day วันละ 2 ครั้ง |
– มีโอกาสเกิด teratogenic effect ควรระวังการใช้ในหญิงมีครรภ์หรือ ผู้ที่อาจตั้งครรภ์ และต้องให้คาแนะนาเพื่อให้ผู้ป่วยร่วมตัดสินใจ
– อาจเพิ่มระดับ uric acid ระวังการใช้ร่วมกับ pyrazinamide – ระวัง hypoglycemia หากใช้ร่วมกับ repaglinide หรือ pioglitazone – แบ่งหรือบดเม็ดยา และให้ทาง NG tube ได้ – ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ไม่ต้องปรับขนาดยา – ควรปรับขนาดยาในผู้ป่วยที่มีการทางานของตับบกพร่องในระดับปานกลางถึงรุนแรง คือ วันที่ 1: 4 เม็ด วันละ 2 ครั้ง วันต่อมา: 2 เม็ด วันละ 2 ครั้ง |
Lopinavir/ritonavir (LPV/r)
(เม็ด 200/50 mg/tab, น้า 80/20 mg/mL) 2 เม็ด ทุก 12 ชั่วโมง |
อายุ 2 สัปดาห์-1 ปี 300/75 mg/m2/dose
วันละ 2 ครั้ง อายุ 1-18 ปี 230/57.5 mg/m2/dose วันละ 2 ครั้ง ขนาดยาชนิดเม็ดตามน้าหนักตัว 15-25 กิโลกรัม 200/50 mg วันละ 2 ครั้ง 25-35 กิโลกรัม 300/75 mg วันละ 2 ครั้ง 35 กิโลกรัมขึ้นไป 400/100 mg วันละ 2 ครั้ง |
– อาจทาให้ท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน
– ยาน้าต้องแช่เย็น และควรกินพร้อมอาหารเพื่อช่วยการดูดซึม ยาเม็ดกินไม่จาเป็นต้องกินพร้อมอาหาร – อาจทาให้หัวใจเต้นผิดจังหวะแบบ QT prolongation – อาจทาให้ตับอักเสบ หรือตับอ่อนอักเสบได้ (พบน้อย) |
Remdesivir
วันที่ 1: 200 mg IV วันที่ 2-5: 100 mg IV วันละครั้ง (US-NIH แนะนาให้ 5 วัน ในกรณีที่อาการไม่รุนแรงมาก แต่ถ้ามีอาการรุนแรงมากต้องใช้ ECMO แนะนาให้ 10 วัน) |
วันที่ 1: 5 mg/kg IV วันละครั้ง
วันต่อมา : 2.5 mg/kg IV วันละครั้ง |
– Constipation, hypokalemia, anemia, thrombocytopenia, increased total bilirubin, elevated alanine transaminase and aspartate transaminase, hyperglycemia
– ระวังการใช้ในผู้ป่วยที่มีการทางานของตับและไตบกพร่อง – ควรหยดยานานกว่า 30 นาที แต่ไม่เกิน 120 นาที เพื่อป้องกัน hypersensitivity reaction – ละลายผงยาด้วย sterile water for injection 20 mL, ผสมยาใน 0.9% NSS หลังละลายผงยา ยามีอายุได้ นาน 24 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 20-25 C และ 48 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 2-8 C |
Corticosteroid ให้ 7-10 วัน
Dexamethasone 6 mg วันละครั้ง หรือ hydrocortisone 160 mg ต่อวัน หรือ prednisolone 40 mg ต่อวัน หรือ methylprednisolone 32 mg ต่อวัน |
ให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ | – ต้องระมัดระวังภาวะน้าตาลในเลือดสูง โดยเฉพาะในผู้ป่วยเบาหวาน
– ขนาดของ corticosteroid ต่อวัน อาจปรับเพิ่มได้หากแพทย์พิจารณาว่าน่าจะได้ประโยชน์ เช่น กรณีผู้ป่วยน้าหนักตัวมากกว่าปกติ และควรเฝ้าระวังผลข้างเคียงของการใช้ยาในขนาดสูงด้วยเสมอ |
ยาฟ้าทะลายโจร (3-6)
ชนิด ขนาดยา การให้ยา – ใช้ยาฟ้าทะลายโจรชนิดแคปซูลหรือยาเม็ด ที่มีสารฟ้าทะลายโจรชนิดสารสกัด (extract) หรือผงบด (crude drug) ซึ่งระบุปริมาณของสาร andrographolide เป็น mg ต่อ capsule หรือเป็น % ของปริมาณยา – คานวณให้ได้สาร andrographolide 180 mg/คน/วัน แบ่งให้ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร กินติดต่อกัน 5 วัน (ถ้าจานวน capsule ต่อครั้งมาก อาจแบ่งให้ 4 ครั้ง ต่อวัน) – เริ่มยาเร็วที่สุดหลังการติดเชื้อ SARS-CoV-2 |
ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะแนะนาการใช้ในเด็ก เพื่อการรักษา COVID-19 ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ | ข้อห้าม: ห้ามใช้ในกรณี
– คนที่มีประวัติแพ้ยาฟ้าทะลายโจร – หญิงตั้งครรภ์/อาจจะตั้งครรภ์ และหญิงที่กาลังให้นมบุตร เพราะข้อมูลในทางทฤษฎีชี้แนะว่าอาจมีผลต่อ uterine contraction และทารกผิดปรกติ ข้อควรระวัง – การใช้ร่วมกับยาลดความดัน และยาที่มีฤทธิ์ป้องกันการแข็งตัวของเลือด เช่น warfarin, aspirin และ clopidogrel เพราะอาจเสริมฤทธิ์กัน – ยังไม่มีข้อมูลการปรับขนาดยาในผู้ป่วยโรคไตรุนแรงหรือโรคตับ ผลข้างเคียง: ที่พบ – ปวดท้อง ท้องเดิน คลื่นไส้ ใจสั่น เบื่ออาหาร เวียนศีรษะ (พบมากขึ้นเมื่อใช้ยาขนาดสูงหรือนานเกิน) – อาจเกิดลมพิษ หรือ anaphylaxis (พบน้อย) – ผลไม่พึงประสงค์อาจเกิดจากยาอื่นที่ใช้ร่วมด้วย |
ยาจันทลีลา
ชนิดผง ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1-2 กรัม ละลายน้ำสุก ทุก 3-4 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ ชนิดแคปซูล รับประทานครั้งละ 1-2 กรัม ทุก 3-4 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ
|
ชนิดผง
ในเด็ก อายุ 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม-1 กรัม ละลายน้ำสุก ทุก 3-4 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ ชนิดแคปซูล ในเด็ก อายุ 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม-1 กรัม ทุก 3-4 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ |
ข้อควรระวัง
– ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากอาจบดบังอาการของไข้เลือดออก – หากใช้ยาเป็นเวลานานเกิน 3 วัน แล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ ข้อมูลเพิ่มเติม แนะนำให้ใช้ยาจันทน์ลีลาได้ในหญิงที่มีไข้ทับระดูหรือไข้ระหว่างมีประจำเดือนแคปซูลและชนิดเม็ด |
ยาห้าราก (12)
ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1-1.5 ก วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร เมื่อมีอาการ หมายเหตุ : ชนิดผงให้ละลายน้ำสุกก่อนรับประทาน |
เด็ก อายุ 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 500 มก – 1 ก วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร เมื่อมีอาการ
หมายเหตุ : ชนิดผงให้ละลายน้ำสุกก่อนรับประทาน |
ข้อควรระวัง (12)
– ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากอาจบดบังอาการของไข้เลือดออก – หากใช้ยาเป็นเวลานานเกิน 3 วัน แล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ – ไม่แนะนำให้ใช้ในหญิงที่มีไข้ทับระดู หรือไข้ระหว่างมีประจำเดือน |
ยาองครักษ์พิทักปอด (13)
– ต้มกินต่างน้ำ |
– ต้มกินต่างน้ำ | – |
ลิ้นเป็ด (13)
– ลูกกลอน ทานวันละ ๒ เม็ด เช้า-เย็น – หากอาการหนักให้เพิ่มได้ถึง ๕ เม็ด เช้า-เย็น |
– ลูกกลอน ทานวันละ ๒ เม็ด เช้า-เย็น
– หากอาการหนักให้เพิ่มได้ถึง ๕ เม็ด เช้า-เย็น |
– |
พลูคาว (15)
– ทานครั้ง ½ ถึง 1 แก้ว 3 เวลา |
– | คำเตือน (15)
การรับประทานถ้ามากเกินไป อาจจะทำให้หัวใจเต้นสั้นและถี่ ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้
|
ยาสูตรหมอเสือ (16-24)
– กินวันละ สองครั้งเพื่อป้องกัน คือเช้า หรือก่อน นอน กินครั้งละครึ่งแก้วกาแฟ – ถ้าติดเชื้อแล้ว ให้กินทุกๆ 4 ชม. วันละ 4 ครั้ง |
– | ข้อห้าม
– ห้ามใช้หมออลูมิเนียมในการปรุงยา – ยาปิดฝาไว้ ควรอุ่นให้เดือดทุกวัน เพื่อกันยาเสีย กินจนหมดน้ำ และพลียาทิ้งที่โคลนไม้ หรือลงน้ำไป ขอฝากยา ให้แม่คงคาหรือแม่ธรณีนำพาไป |
เผยแพร่โดย ทีมงาน www.farmssb.com
เอกสารอ้างอิง
- http://www.sikarin.com/content/detail/432/7-คำถามที่ใครก็สงสัย-เกี่ยวกับไวรัส-covid-19”. 7 คำถามที่ใครก็สงสัย เกี่ยวกับไวรัส “COVID-19”.
- https://www.bbc.com/thai/features-51734255. ไวรัสโคโรนา : ที่มา อาการ การรักษา และ การป้องกันโรคโควิด-19.
- A B. Effects of Andrographis paniculata on prevention of pneumonia in mildly symptomatic COVID-19 patients: A retrospective cohort study. During submission for publication. 2021.
- Hossain S, Urbi Z, Karuniawati H. Andrographis paniculata (Burm. f.) Wall. ex Nees: An Updated Review of Phytochemistry, Antimicrobial Pharmacology, and Clinical Safety and Efficacy. Life (Basel, Switzerland). 2021;11(4).
- Sa-Ngiamsuntorn K, Suksatu A, Pewkliang Y. Anti-SARS-CoV-2 Activity of Andrographis paniculata Extract and Its Major Component Andrographolide in Human Lung Epithelial Cells and Cytotoxicity Evaluation in Major Organ Cell Representatives. Journal of natural products. 2021;84(4):1261-70.
- Wanaratna K, Leethong P, Inchai N, Chueawiang W, Sriraksa P, Tabmee A, et al. Efficacy and safety of <em> Andrographis paniculata</em> extract in patients with mild COVID-19: A randomized controlled trial. medRxiv. 2021:2021.07.08.21259912.
- Hossain S, Urbi Z, Karuniawati H, Mohiuddin RB, Moh Qrimida A, Allzrag AM, et al. Andrographis paniculata (Burm. f.) Wall. ex Nees: An Updated Review of Phytochemistry, Antimicrobial Pharmacology, and Clinical Safety and Efficacy. Life. 2021;11(4).
- Dai Y, Chen SR, Chai L, Zhao J, Wang Y, Wang Y. Overview of pharmacological activities of Andrographis paniculata and its major compound andrographolide. Critical reviews in food science and nutrition. 2019;59(sup1):S17-s29.
- อภัยภูเบศร. อภัยภูเบศรส่ง 5 ตำรับสมุนไพร สู้โควิด 2021. Available from: https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30559.
- สมุนไพรอภัยภูเบศร. ตำรับยาจันทน์ลีลา เป็นตำรับยาแก้ไข้ 2020. Available from: https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_146651.
- เดลินิวส์. ข่าวดี!แพทย์แผนไทยแจกฟรี3ตำรับยา รักษาผู้ป่วยโควิด 2021. Available from: https://www.dailynews.co.th/regional/853000/.
- มาหวิทยาลัยมหิดล. บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน ยาห้าราก : ตำรับยาสมุนไพรแก้ไข้ 2021. Available from: https://pharmacy.mahidol.ac.th.
- บ้านสวนสุขสบาย ค. องครักษ์พิทักปอด 2017 [cited 21-07-2021]. Available from: https://farmssb.com/.
- https://www.poonrada.com/sickness/detail/107. พลูคาว สมุนไพรเสริมภูมิคุ้มกันและต้านไวรัส.
- https://medthai.com/พลูคาว/. พลูคาว (ผักคาวตอง) สรรพคุณและประโยชน์ของพลูคาว 65 ข้อ !
- https://www.youtube.com/watch?v=5EaJj4J_9lM. สูตรการรักษาโควิดฉบับแพทย์แผนไทย?? .
- https://www.facebook.com/Ch7HDNews/videos/หมอเสือรักษาโคโรนา/723460921512977/. หมอเสือรักษาโคโรนา.
- https://www.facebook.com/necro.mancer.3344/posts/3089933601285939. ยาดับไข้ นารายณ์พลิกแผ่นดิน
- https://medthai.com/ลูกใต้ใบ/. 68 สรรพคุณและประโยชน์ของต้นลูกใต้ใบ ! (หญ้าใต้ใบ).
- https://www.youtube.com/watch?v=JdKHC9J8CIo. ลูกใต้ กับ หญ้าใต้ใบ ต่างกันอย่างไร?? หยิบมาใช้ให้ถูกตัว เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง.
- https://pantip.com/topic/31173739(คห.9). นี่คือ ต้น อะไรครับ แม่เค้าบอกว่าเป็น ยา เลยเอามาต้มกิน.
- https://www.คลังสมุนไพร.com/16961561/สมุนไพรหญ้าใต้ใบ. สมุนไพรหญ้าใต้ใบ.
- http://pharmacy.su.ac.th/herbmed/herb/text/herb_detail.php?herbID=400. ขางอำไพ.
- https://www.facebook.com/VeeranunSOM/posts/329616645420959. ๑๐๗๑. ขางอำไพ
- Beigel JH, Tomashek KM, Dodd LE, Mehta AK, Zingman BS, Kalil AC. Remdesivir for the Treatment of Covid-19 – Final Report. The New England journal of medicine. 2020;383(19):1813-26.
- Bhimraj A, Morgan RL, Shumaker AH, Lavergne V, Baden L, Cheng VC, et al. Infectious Diseases Society of America Guidelines on the Treatment and Management of Patients with COVID-19. Clinical infectious diseases: an official publication of the Infectious Diseases Society of America. 2020.
- Horby P, Lim WS, Emberson JR, Mafham M, Bell JL, Linsell L. Dexamethasone in Hospitalized Patients with Covid-19. The New England journal of medicine. 2021;384(8):693-704.
- Jin Y-H, Zhan Q-Y, Peng Z-Y, Ren X-Q, Yin X-T, Cai L, et al. Chemoprophylaxis, diagnosis, treatments, and discharge management of COVID-19: An evidence-based clinical practice guideline (updated version). Military Medical Research. 2020;7(1):41.
- Shrestha DB, Budhathoki P. Favipiravir versus other antiviral or standard of care for COVID-19 treatment: a rapid systematic review and meta-analysis. Virology journal. 2020;17(1):141.